Breaking News

MG จัดงานสัมมนา “EVolution of Automotive“

ข่าวสด รถยนต์ วันนี้ (22/05/19) MG จัดงานสัมมนา “EVolution of Automotive” เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา

MG EVolution of Automotive

ข่าวสด: MG จัดงานสัมมนา “EVolution of Automotive” เมื่อเร็ว ๆ นี้

หากคุณกำลังค้นหา Wallpaper รูปรถสวยๆ

เราขอแนะนำ Wallpaper รูปรถสวยๆ Download wallpaper ที่นี้

MG EVolution of Automotive

ช่วงที่ 1 ภาครัฐ – Government

คุณศิริรุจ จุลกะรัตน์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเริ่มต้นเพื่อเข้าถึงการเสวนา เรื่อง Evolution of Automotive โดย ปัจจุบันประเทศไทยมีนโยบาย 4.0 เพราะสภาวะแวดล้อมของประเทศไทยมีปัจจัยอย่าง ราคาน้ำมันที่ไม่แน่นอน หรือ การใช้พลังงานหรือเชื้อเพลิงที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

อย่างล่าสุดเกิดวิกฤติ PM 2.5 ซึ่งกระทรวงได้มีมาตรการการส่งเสริมให้คนไทยหันมาใช้พลังงานทดแทน โดยการผลักดันโดยนโยบายการพัฒนารถยนต์ในอนาคตว่าจะนำพลังงานทดแทนมาใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่เห็นได้ชัด คือ พลังงานไฟฟ้าหรือแผนการพัฒนารถยนต์ระบบไฟฟ้า (Electric Vehicle หรือ EV) ซึ่งตั้งไว้ที่ 25% ของจำนวนรถในอีก 10 ปีข้างหน้า

และทางภาครัฐได้มีการผลักดันความต้องการของตลาดในประเทศ (demand) และสิทธิประโยชน์ทั้งหลาย (supply) และปัจจัยที่สำคัญต่าง ๆ ในการผลิตรถยนต์ (element) อย่างชิ้นส่วนรถยนต์สนามทดสอบ ศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ และอื่น ๆ

มุมมอง และทิศทางที่ทางกระทรวงอุตสาหกรรม เกี่ยวกับเรื่องการใช้รถยนต์ระบบไฟฟ้า อาทิ

  • 1. จะทำอย่างไรให้รถยนต์ระบบไฟฟ้าเป็นทางเลือกของผู้บริโภคมากขึ้นเป็น “Eco Electric Vehicle” ที่ประหยัด ปลอดภัย และคุ้มค่า
  • 2. การปรับปรุงข้อมูลข่าวสาร และรณรงค์การใช้รถยนต์ระบบไฟฟ้าโดยทำอีโค่สติ๊กเกอร์ (Eco Sticker) เพื่อรองรับการใช้น้ำมันระบบดีเซล
  • 3. จะทำอย่างไรให้ประเทศไทยยังคงสถานะเป็นศูนย์การประกอบรถยนต์ Next Generation เมื่อมาถึง EV เพราะเดิมประเทศไทยถือว่าเป็น Detroit of Asia ในการประกอบรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย

นอกจากนี้ยังได้มีการส่งเสริมการลงทุนในภาครัฐ โดยจะมีการเปิดให้ภาครัฐทุกหน่วยซื้อรถยนต์ระบบไฟฟ้าไปใช้เพื่อทำให้รถยนต์ EV ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น รวมไปถึงการปรึกษากับกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องว่าจะมีการบริหารจัดการแบตเตอรี่อย่างไรเพื่อไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

นโยบายการสนับสนุนของรถยนต์ไฟฟ้าของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ดร. เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการ สายงานกิจการพิเศษ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวถึงนโยบายการสนับสนุนของรถยนต์ไฟฟ้าของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ไว้ว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. มีหน้าที่สร้างขีดความสามารถในการวิเคราะห์ และทดสอบศักยภาพของรถยนต์ไฟฟ้าอยู่แล้ว

สิ่งที่จำเป็นต้องทำเป็นอย่างยิ่ง คือ การวิจัยเพื่อพัฒนา และอัพเดทเทรนด์หรือกระแสในตลาด พร้อมทั้งพัฒนาคนให้มีองค์ความรู้พร้อมรับเทคโนโลยีดังกล่าว หลัก ๆ คือ จะทดสอบอย่างไร และรูปแบบไหนถึงจะเกิดประสิทธิผลมากที่สุด เพื่อให้ได้มาตรฐาน
สำหรับเทรนด์และแนวโน้มในประเทศไทยนั้น

แน่นอนว่าเมื่อ EV (Electric Vehicle) เข้าตลาด นวัตกรรมรถยนต์ที่กำลังจะตามมาคือ AV (Automation Vehicle) โดยเทรนด์รถในปี พ.ศ. 2562 มีหลัก ๆ ทั้งหมด 6 เทรนด์ด้วยกันคือ

  • 1. การติดตั้งเซ็นเซอร์เพื่อเพิ่มความปลอดภัย (Safety Sensor)
  • 2. คอมเพล็กซ์ทรานสปอร์ตเทชั่น (Complex Transportations) หรือ Mobility is going ‘as-a-service’
  • 3. รถยนต์ระบบไฟฟ้า (Electrification)
  • 4. การเชื่อมต่อ (Connectivity) หรือ ที่เรียกว่า V2X (Vehicle-to-everything)
  • 5. การเก็บข้อมูล (information storage)
  • 6. การแชร์รถยนต์ หรือ Car Sharing

คุณอดิศักดิ์ โรหิตะศุน ผู้ทำการแทนผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวถึง สถานการณ์ทั่วทั้งโลก และประเทศไทยที่มีต่อการพัฒนารถยนต์ระบบไฟฟ้าว่า “วิวัฒนาการของยานยนต์นั้นกำลังถูกท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี หรือ ที่ถูกเรียกกันว่าการดิสรัปชั่น (Disruption) ในภาครัฐนั้นก็มีนโยบายที่ออกมารองรับกับ ความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

รวมถึงกระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม ในส่วนของสถาบันยานยนต์ สถาบันยานยนต์ ก็มีหน้าที่สนับสนุนเช่นเดียวกัน ดังที่ว่าประเทศไทยนั้นถือได้ว่าเป็นฐานผลิตยานยนต์ที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในปัจจุบันนี้ โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 60 ปี ด้วยกัน และเมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาดิสรัป และท้าทาย วิธีแก้ปัญหาคือ

  • 1. พัฒนาและคิดค้นระบบรถยนต์โดยใช้ระบบนิเวศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และทันสมัย โดยจะพัฒนา next generation automotive center ขึ้นมาเพื่อค้นหาว่ายานยนต์จะสามารถเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหนได้บ้าง และจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
  • 2. พัฒนาคนให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคตได้
  • 3. ทดสอบมาตรฐานยานยนต์สมัยใหม่ พร้อมต่อยอดการวิจัย และพัฒนาในอนาคต ไม่มุ่งเน้นเฉพาะการผลิตอย่างเดียว แต่จะให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ และเทคโนโลยีควบคู่กันไป

อุตสาหกรรมยานยนต์ในปี ค.ศ. 2030 หรือ อีก 10 ปีข้างหน้าประเทศไทย จะเป็นประเทศที่ให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และจะเป็นสังคมที่เข้าสู่ประชากรสูงอายุมากถึง 30% ของประชากรไทยทั้งหมด

ระบบ Robots and Automations จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในประเทศไทย

นอกจากนี้ ระบบ Robots and Automations จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในประเทศไทย มีการพัฒนาเรื่อง 5G ให้รองรับอย่างทั่วถึง และทางภาครัฐจะพัฒนาเป็น E-Government เศรษฐกิจจะพลิกโฉมมาเป็น E-commerce มากขึ้น สังคมจะพัฒนาเป็นสังคมเมืองมากขึ้นเพื่อให้ไปถึง สมาร์ทซิตี้ (Smart City)

โดยจะต้องมี สมาร์ทโมบิลิตี้ (Smart Mobility) ที่สามารถเข้าถึง ได้ง่าย (Accessible) เชื่อมต่อกัน (Connect) สะดวกสบาย และปลอดภัย (Comfort & safety) เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Clean & Efficiency) และคุ้มค่าในเรื่องของราคา (Affordable price) ซึ่งสิ่งที่จะมารองรับ Smart Mobility

ดังกล่าวก็คือเทคโนโลยี ได้แก่ รถยนต์ระบบไฟฟ้า (E – Electrified) อย่างรถยนต์ EVs ที่ในอีก 10 ปีข้างหน้าจะมีอัตราการผลิตถึง 53% (มากกว่ารถยนต์แบบสันดาปภายใน) ระบบอัตโนมัติ (A – Automated) ที่จะมีถึง 6 ระดับด้วยกัน ไล่จากระดับ 0 คือไม่อัตโนมัติจนถึงระดับ 5 คือควบคุมอัตโนมัติ อย่างสมบูรณ์แบบ

และในปี ค.ศ. 2030 คาดว่าจะสามารถพัฒนาระบบ autonomous ได้ในระดับที่ 3 ซึ่งเป็นระดับที่สามารถขับขี่ได้อัตโนมัติ ในระยะทาง และระยะเวลาที่จำกัด อย่างเช่น การปล่อยมือบนทางด่วน และการเชื่อมโยง (C – Connected) ที่จะสามารถเชื่อมต่อ

  • V2D หรือ การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ (Device) ต่าง ๆ
  • V2P หรือ การเชื่อมต่อกับคนที่เดินถนน V2V หรือ การเชื่อมต่อระหว่างรถต่อรถ
  • V2I หรือ การเชื่อมต่อกับโครงสร้างต่าง ๆ
  • โดยในปี ค.ศ. 2030 นั้น คาดว่าจะมีการพัฒนาไปถึง V2X หรือ การเชื่อมโยงที่สามารถเชื่อมต่อได้กับทุกสิ่ง

สุดท้าย คือ เรื่อง แชร์ริ่ง (S – Shared) ที่จำแนกออกเป็น

  • การแชร์กันขับ (Drive sharing)
  • การอาศัยไปกับรถคนอื่น (Ride sharing)
  • ระบบขนส่งสาธาระณะ (Mass transit)

ซึ่งในอีก 10 ปีข้างหน้า ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะมีการพัฒนาไปในขั้นไหน

ปัจจุบัน เราอยู่ในกระบวนการของการสู้กับความท้าทายในปี ค.ศ. 2030 ดังนั้นสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมคือ คน (Human Resource Development) ว่าเมื่อโลกมันเปลี่ยนไปเราควรจะปรับตัวอย่างไรให้เหมาะสม โดยหลัก ๆ จะแบ่งออกเป็นสองส่วน ตัวรถยนต์ระบบไฟฟ้า และการผลิต ที่ในอนาคตสังคมไทยจะขาดแคลนแรงงานมากขึ้น

Autonomous และ Robots มีบทบาทสำคัญในการช่วยเพิ่มผลผลิตสู่ท้องตลาด

เรื่องของ Autonomous และ Robots จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเพิ่มผลผลิตสู่ท้องตลาด ดังนั้นจำเป็นอย่างมากที่จะต้องต่อยอดการศึกษาเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ใหม่แก่ประชาชน โดยทั่วเกี่ยวกับเรื่องตัวรถยนต์ระบบไฟฟ้ารวมถึงกระบวนการการผลิตรถยนต์ระบบไฟฟ้าอีกด้วย

สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากก็คือ ทักษะด้าน Soft Skills ที่ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นเราได้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับพื้นฐานหลัก การดำเนินงาน เทคโนโลยี และแบตเตอรี่ของรถยนต์ระบบไฟฟ้า เป็นต้น ที่ศูนย์ EV Technology & Innovation Center

ช่วงที่ 2 – ภาคเอกชน

ดร.ปราจิน เอี่ยมลำเนา ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กล่าวในมุมมองของผู้ขับขี่และผู้ที่ใช้งานรถไฟฟ้า EV ว่า

  • ด้านความพร้อมของผู้ขับขี่เกี่ยวกับรถไฟฟ้านั้น ปัจจุบันรถไฟฟ้ามีหลากหลายขนาดของความจุไฟฟ้า ดังนั้นในฐานะผู้ขับขี่ต้องคำนึงถึงลักษณะการใช้งานเป็นสำคัญ อาทิ รถที่มีแบตเตอรี่ขนาดเล็ก ความจุไฟฟ้าน้อยเหมาะสมสำหรับใช้ขับขี่ระยะใกล้ อาทิ ภายในหมู่บ้าน หรือ ขับระหว่างบ้านเพื่อมาจับจ่ายใช้สอยที่ตลาดใกล้ ๆ บ้าน หรือ รถที่แบตเตอรี่ความจุใหญ่หน่อยก็สามารถขับในระยะทางที่ไกลขึ้น ซึ่งตรงนี้ถ้าผู้ขับขี่ทั่วไปต้องการใช้รถไฟฟ้าเป็นยานพาหนะก็ควรเลือกมองรถที่ขนาดแบตเตอรี่ใหญ่
  • ด้านผู้ประกอบการรถยนต์ควรพัฒนารถยนต์ที่มีขนาดแบตเตอรี่ที่ใหญ่เพื่อรองรับความต้องการของตลาด รวมทั้งประสิทธิภาพในการวิ่งของรถยนต์ที่ต้องสามารถวิ่งได้เป็นระยะทางอย่างน้อย 200-300 กิโลเมตรต่อการชาร์จไฟ หนึ่งครั้ง
  • ด้านการลงทุนพัฒนาสถานีชาร์จ ถึงแม้ในขณะนี้สถานีชาร์จยังน้อยอยู่แต่ถ้าในอนาคตกำลังมีการพัฒนา และติดตั้งหัวชาร์จเพิ่มมากขึ้น ผู้ขับขี่ที่ใช้งานคงวางใจได้ในระดับหนึ่ง
  • ผู้ผลิต และพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า ต้องกลับมามองดูในเรื่องจากอะไหล่ชิ้นส่วนเพื่อประกอบรถยนต์ และสำหรับซ่อมบำรุงในอนาคตด้วย เพราะถ้านวัตกรรมยานยนต์เดินเร็วจนผู้ผลิตอะไหล่ชิ้นส่วนไม่สามารถพัฒนาได้ทัน อันนี้อาจส่งผลเป็นปัญหาในอนาคต

คุณอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA บอกเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการพัฒนาสถานีชาร์จไว้ดังนี้

  • EA เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทที่พัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า EA Anywhere โดยมอบให้บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด เป็นผู้พัฒนา และก่อสร้างสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า เชื้อเพลิงสำหรับพาหนะ ในอนาคตที่ประหยัดพลังงาน ไม่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันวางเป้าหมายติดตั้งสถานีชาร์จให้ครบ 1,000 สถานีครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ (โดย 1 สถานี มีหลายหัวชาร์จ) โดยปัจจุบันได้ติดตั้งไปแล้วประมาณ 200 สถานี ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญบางจังหวัด
  • ในด้านของสถานีการชาร์จไฟฟ้านั้น ทาง EA Anywhere ได้แบ่งหัวชาร์จไฟฟ้าเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกมีกำลังอยู่ที่ 44KW หรือ Normal Charger โดยเฉลี่ยการชาร์จรถยนต์ขนาด 30kWh จะอยู่ที่ 24 ชั่วโมง และแบบ 150KW หรือ Super/Combo Charger โดยเฉลี่ยการชาร์จรถยนต์ขนาด 30kWh จะใช้เวลาชาร์จเพียง 15-20 นาทีเท่านั้น โดยสามารถวิ่งได้ถึง 200-300 ตามสมรรถนะของรถยนต์
  • นอกจากการเร่งในการก่อสร้างสถานีชาร์จแล้ว บริษัทฯ ยังพัฒนาในส่วนของ Application ที่เรียกว่า EA Anywhere App โดยผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าจะได้รับการแจ้งเตือนถ้าประจุไฟฟ้าภายในรถยนต์มีกำลังสำรองเหลือน้อย ซึ่งผู้ขับขี่จะสามารถค้นหาสถานีชาร์จที่อยู่ใกล้ที่สุด สถานีนั้นมีว่างอยู่กี่หัวจ่าย และเสามารถจองหัวจ่ายผ่าน Application ซึ่งยังพัฒนาต่อไปถึงด้านการจ่ายค่าไฟโดยสามารถจ่ายผ่านบัญชีธนาคารออนไลน์ หรือ Internet Banking ได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน ผู้ที่ขับขี่รถไฟฟ้านำรถไปชาร์จที่สถานีจะเสียค่าชาร์จเฉลี่ยที่ประมาณ 50 บาท่อชั่วโมง ซึ่งเป็นการชาร์จในรูปแบบปกติ แต่ถ้าในอนาคตมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ก็จะทำการศึกษาและกำหนดค่าชาร์จไฟอีกครั้งหนึ่ง โดยอาจจะคิดตามหน่วยไฟที่แท้จริง เป็นต้น

มร. ผู่ จินฮวน หัวหน้าวิศวกร แผนก Project Operation Department PM Section EV Platform Chief Engineering, Shanghai E-Propulsion Auto Technology Co., Ltd เล่าถึงภาพรวมและการพัฒนาด้านเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของ SAIC ไว้ว่า

  • SAIC นับเป็นบริษัทผู้พัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อยานยนต์ระดับโลก โดยปัจจุบัน SAIC จำหน่ายรถยนต์อยู่อันดับ 7 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของประเทศจีน โดยในปี ค.ศ. 2009 SAIC ลงทุนถึงกว่า 20,000 ล้านหยวนเพื่อจัดตั้งบริษัท SEAT เพื่อพัฒนานวัตกรรมรถยนต์ EV โดยโฟกัสอยู่ที่ 3 ประเด็นหลักได้แก่
  • 1. แบตเตอรี่
  • 2. มอเตอร์
  • 3. แผงคอนโทรล/ระบบควบคุมไฟฟ้า
  • โดยตลอดระยะเวลา 10 ปี SAIC มีการเปิดตัวรถยนต์ EV ถึง 11 รุ่น และในปีนี้ SAIC เตรียมเปิดตัวรถ EV โฉมใหม่อย่าง ZS EV พร้อม ๆ กันใน 20 ประเทศทั่วโลก
  • SAIC มียอดขายรถ EV สะสมมากกว่า 200,000 คัน เฉพาะในปีที่ผ่านมา (ค.ศ. 2018) SAIC มียอดการจำหน่ายรถ EV กว่า 100,000 คัน ซึ่งในประเทศจีนมีรถยนต์ EV (HEV | PHEV | EV) มากถึง 1 ล้านคัน และกว่า 760,000 คัน เป็นรถพลังงานไฟฟ้า (EV) เท่านั้น
  • ในช่วง 10 ปี SAIC ในการพัฒนาในหลายมิติโดยเฉพาะ Hardware โดย Part หลัก ๆ เช่น ระบบส่งกำลัง ทาง SAIC จะเป็นผู้พัฒนาเอง นอกจากนี้ ยังร่วมกับ partner ระดับโลกทำการคิดค้นในส่วนต่าง ๆ อาทิ Bosch และในส่วนของ Software ของแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ทาง SAIC เป็นผู้ดำเนินการ และพัฒนาเองทั้งหมด

จุดเด่นของรถ EV ของ SAIC มี 3 ประเด็น คือ

  • 1. ประสิทธิภาพสูง โดย รถ EV ของ SAIC จะใช้มอเตอร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม ที่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ ที่เป็นวงกลม ซึ่งรูปแบบสี่เหลี่ยมจะดีกว่ารูปแบบเดิมถึง 10-15% มีแรงดันสูงกว่า 400 โวลต์ (DC 400 Volt) นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยี S-Pedal (Smart Pedal) ที่ออกแบบมาให้สามารถชาร์จไฟได้ขณะเร่งเครื่องหรือลดความเร็วของเครื่องยนต์ ทำให้ไม่สูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ เกิดเป็นพลังงานหมุนเวียนขณะขับขี่
  • 2. ความปลอดภัย รถ EV ของ SAIC ผ่านมาตรฐาน ISO 026262 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยระดับโลกที่ใช้กับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า พร้อมทั้ง ASIL หรือ Automotive Safety Integrity ในระดับ Level D ซึ่งเป็นระดับความปลอดภัยสูงสุด นอกจากนี้ ยังได้รับประกาศนียบัตร UL 2580 ซึ่งเป็นเครื่องการันตีถึงมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดของแบตเตอรี่ โดยผ่านการทดสอบในด้านต่าง ๆ ถึง 8 ด้าน ทั้งการลัดวงจรของระบบไฟฟ้า ภาวะฝุ่น การขีดข่วน แรงอัด การทนต่อการกัดกร่อนด้วยจากละอองน้ำเกลือ แช่น้ำ ไฟ การกระแทก เป็นต้น นอกจากนี้ รถ EV ของ SAIC ยังมีการปกป้องแบตเตอรี่แบบ 360 องศา (360 Degree Battery Shield) ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ได้เป็นอย่างดี
  • ความคุ้มค่า รถ EV ของ MG มีระบบส่งกำลังไฟที่มีประสิทธิภาพสูง และแบตเตอรี่ให้กำลังไฟที่มากกว่ารถยนต์ กลุ่มเดียวกัน ซึ่งนอกจากนี้ SAIC ยังได้ลงทุนด้านแบตเตอรี่ อะไหล่และชิ้นส่วน โดยการร่วมทุนกับผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่ของจีนและทำสัญญาการผลิต และจัดส่งกับซัพพลายเออร์ จึงมี Supply chain ที่ครบถ้วน ดังนั้น ผู้ขับขี่จึงมั่นใจได้ว่า รถ EV ของ SAIC นั้นมีความปลอดภัยคุ้มค่าในทุกขั้นตอน

นอกจากนี้ มร. จาง ไห่โป กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด และ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงความมั่นใจที่บริษัทฯ มีต่อรถยนต์ระบบไฟฟ้า ว่า

  • พัฒนาการ และเทคโนโลยีของรถยนต์ระบบไฟฟ้าทำมานานกว่า 100 ปี และก็มีการพัฒนา และอัพเดทออกมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่เครื่องยนต์รุ่นแรกจนถึงรุ่นปัจจุบัน แต่เมื่อเราได้ความสะดวกสบายจากรถยนต์นั้นก็นำมาซึ่งมลภาวะ ดังนั้น บริษัทฯ จึงนำแบตเตอรี่มาให้พลังงานกับรถยนต์เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวพร้อมทั้งนำเทคโนโลยีทันสมัยต่าง ๆ มาพัฒนาอีกมากมาย ซึ่งจากมุมมองส่วนตัวคิดว่ารถยนต์ไฟฟ้านั้นสามารถเติบโตได้เร็วกว่าที่หลายคนคาดการณ์
  • SAIC เริ่มศึกษาเกี่ยวกับเรื่องพลังงานใหม่มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 มาจนถึงทุกวันนี้ จึงมั่นใจได้ว่ารถยนต์ทุกรุ่นที่ออกขายสู่ตลาดในหลาย ๆ ประเทศโดยเฉพาะรุ่น EV นั้นมีเทคโนโลยีที่พร้อม ครบถ้วน และทันสมัย
  • โอกาสสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้ากำลังมาถึงแล้ว เหมือนในกรณีของสมารท์โฟนที่มีเทคโนโลยีเข้ามาดิสรัป จนสามารถพลิกโฉมของวงการของโทรศัพท์จากหน้ามือเป็นหลังมือ ดังนั้น รถยนต์ EV ก็เช่นเดียวกัน
  • รถยนต์พลังงานไฟฟ้าของ MG จะเข้าไทยในเดือนมิถุนายน 2562 และเพื่อลดความกังวลต่าง ๆ เกี่ยวกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ทาง MG จะร่วมมือกับ EA Anywhere และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในการสร้างสถานีชาร์จ (Charging Stations) ให้ครอบคลุม และทั่วถึง โดยหวังว่าทุกคนจะอดใจรอผลงานดี ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยเทคโนโลยี และความทันสมัยจาก MG

MG Cars Thailand

Check Also

Isuzu Vehicle Delivery to DHL 2024

อีซูซุส่งมอบ ISUZU KING OF TRUCKS EURO 5 MAX รุ่น GXZ ให้กับ DHL จำนวน 30 คัน

มร. มิชิมาสะ โคโนะ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ส่งมอบรถบรรทุกรุ่นใหม่! “ISUZU KING OF TRUCKS EURO 5 MAX…ขีดสุดทุกมิติขนส่ง” …