Breaking News

‘มิชลิน’ ชูกลยุทธ์ “ความยั่งยืนทุกด้าน” ภายใต้แนวคิด Michelin in Motion

มิชลิน นำเสนอแผนกลยุทธ์ “ความยั่งยืนทุกด้าน” (All Sustainable) ของกลุ่มมิชลินเพื่อก้าวสู่ปี 2573 ภายใต้แนวคิด MICHELIN IN MOTION

มิชลิน _ Michelin CMD 2021

มิชลิน ชูกลยุทธ์ “ความยั่งยืนทุกด้าน” รุกก้าวสู่ปี 2573 (MICHELIN IN MOTION)

MICHELIN IN MOTION

ในงานประกาศแผนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ต่อกลุ่มนักลงทุน หรือ Capital Markets Day ของกลุ่มมิชลิน  มร.ฟลอรองต์ เมอเนโกซ์ (Florent Menegaux) ประธานกรรมการจัดการ, มร.อีฟ ชาโป (Yves Chapot) ผู้จัดการทั่วไปและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ตลอดจนกรรมการบริหารกลุ่มมิชลินทั้งคณะ ได้ร่วมกันนำเสนอแผนกลยุทธ์ “ความยั่งยืนทุกด้าน” (All Sustainable) ของกลุ่มมิชลินเพื่อก้าวสู่ปี 2573 ภายใต้แนวคิด MICHELIN IN MOTION

โดย มร.เมอเนโกซ์ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ “ความยั่งยืนทุกด้าน” บนพื้นฐานของความพยายามสร้างสมดุลระหว่างผู้คน (People), ผืนโลก (Planet) และผลกำไร (Profit) พร้อมทั้งเผยถึงเป้าหมายของกลุ่มมิชลินในปี 2573 ซึ่งเชื่อมโยงกับดัชนีชี้วัด 12 ประการ ที่ครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ไปจนถึงผลประกอบการทางสังคมและทางการเงิน (ดูรายละเอียดที่หน้า 4-5)

มิชลิน _ Michelin CMD 2021

นอกจากนั้น มร.เมอเนโกซ์ ยังเน้นถึงความมุ่งมั่นของกลุ่มมิชลินที่จะบรรลุเป้าหมายดังต่อไปนี้

ผู้คน

  • มีอัตราความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรมากกว่าร้อยละ 85
  • เพิ่มสัดส่วนผู้หญิงในตำแหน่งบริหารให้ถึงร้อยละ 35
  • กำหนดค่ามาตรฐานทั่วโลกสำหรับความปลอดภัยในที่ทำงาน โดยมุ่งให้มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน (Total Case Incident Rate: TCIR)[1] ต่ำกว่า 0.5

ผืนโลก

  • ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมประเภท (Scope) ที่ และ ลงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปี 2553 รวมทั้งลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมประเภทที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาคการคมนาคมขนส่งลงให้ได้อย่างชัดเจน โดยทุกประเภทมีเป้าหมายร่วมกันคือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ภายในปี 2593
  • เพิ่มสัดส่วนการใช้วัตถุดิบที่ยั่งยืนในผลิตภัณฑ์ให้อยู่ที่ร้อยละ 40 ภายในปี 2573 เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายที่จะใช้วัตถุดิบที่ยั่งยืนทั้งหมด หรือ ร้อยละ 100 ภายในปี 2593

ผลกำไร

  • ขับเคลื่อนการเติบโตแบบยั่งยืนต่อเนื่อง โดยมียอดขายระหว่างปี 2566-2573 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ ต่อปี หลังจากวิกฤติที่สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สิ้นสุดลง
  • มีสัดส่วนยอดขายจากธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับยางล้ออยู่ที่ร้อยละ 20-30 เพื่อเสริมสร้างคุณค่าที่สำคัญโดยมีอัตราผลตอบแทนจากเงินทุน (Return On Capital Employed: ROCE) ระหว่างปี 2566-2573 อยู่ที่มากกว่าร้อยละ 10.5

ช่องทางการเติบโตทางธุรกิจใหม่ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับยางล้อ

มิชลินจะขยายตัว ลงทุน และคิดค้นนวัตกรรมใหม่ในธุรกิจยางอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มการเดินทางสัญจรหลังวิกฤติโควิด-19 และการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าถือเป็นโอกาสในการเติบโตของกลุ่มมิชลิน ซึ่งมุ่งมั่นพัฒนาความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีที่เหนือกว่าในด้านการออกแบบและผลิตยางล้อสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะมาโดยตลอด

ในภาคการขนส่งทางบก กลุ่มมิชลินจะให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่า ขณะที่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยางรถเหมือง ยางรถตักดิน ยางรถเพื่อการเกษตร ยางล้อเครื่องบิน และยางรถยนต์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ มิชลินจะยังคงเป็นผู้กำหนดบรรทัดฐานด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่โดดเด่นแตกต่าง

ด้วยศักยภาพด้านนวัตกรรมและความเชี่ยวชาญด้านวัสดุ มิชลินมุ่งขับเคลื่อนการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งไปยัง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยาง’ และ ธุรกิจอื่นนอกเหนือจากยาง’ รวม กลุ่มธุรกิจ ได้แก่

  1. บริการและโซลูชั่น (Services & Solutions)
  2. วัสดุคอมโพสิตชนิดยืดหยุ่น (Flexible Composites)
  3. เครื่องมือแพทย์ (Medical Devices)
  4. การพิมพ์โลหะ 3 มิติ (Metal 3D Printing
  5. การสัญจรด้วยพลังงานไฮโดรเจน (Hydrogen Mobility)

·   สำหรับธุรกิจบริการและโซลูชั่น กลุ่มมิชลินกำลังขยายโซลูชั่นด้านธุรกิจเดินรถขนส่งให้มีความหลากหลายและครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำวัตถุอัจฉริยะ (Smart Objects) และข้อมูลที่จัดเก็บได้มาเพิ่มคุณค่าให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น

·   มิชลินตั้งเป้ารุกขยายธุรกิจอย่างจริงจังในตลาดวัสดุคอมโพสิตชนิดยืดหยุ่น [อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor), สายพาน (Belt), ผ้าเคลือบ (Coated Fabrics), ซีลปิดผนึก (Seals) ฯลฯ ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว[2] ด้วยกลยุทธ์การเข้าซื้อและควบรวมกิจการเพื่อเสริมสร้างคุณค่า รวมทั้งการบ่มเพาะธุรกิจใหม่ๆ

·   เครื่องมือแพทย์เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตต่อเนื่องในอีกหลายปีข้างหน้า

·   ในด้านการพิมพ์โลหะ 3 มิติ กลุ่มมิชลินได้พัฒนาความเชี่ยวชาญที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพของ แอ๊ดอัพ’ (Add Up) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง มิชลิน’ กับ ไฟฟ์ส (Fives) ในการทำตลาดโซลูชั่นหลากหลายรูปแบบตามความต้องการของผู้ผลิตเฉพาะราย

·   สำหรับการสัญจรด้วยพลังงานไฮโดรเจน กลุ่มมิชลินมุ่งเป็นผู้นำระดับโลกด้านระบบเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนผ่าน ซิมบิโอ’ (Symbio) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง มิชลิน’ กับ โฟเรอเซีย (Faurecia)

มิชลิน _ Michelin CMD 2021

ตั้งเป้าบรรลุหมุดหมายแรกแห่งความสำเร็จในปี 2566

ภายในงาน Capital Markets Day มิชลินยังได้นำเสนอปัจจัยขับเคลื่อนขีดความสามารถทางการแข่งขันเชิงอุตสาหกรรมหลายประการ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อคำนึงถึงภาวะเงินเฟ้อแล้ว (Net of Inflation) ได้สูงถึง 80 ล้านยูโรต่อปี ระหว่างปี 2563-2566 ยิ่งกว่านั้น ยังจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายทั่วไป และค่าใช้จ่ายทางธุรการ (SG&A) ในธุรกิจยาง เมื่อคำนึงถึงภาวะเงินเฟ้อแล้ว ลงได้ 65 ล้านยูโร ภายในปี 2566 และ 125 ล้านยูโร ภายในปี 2568

จากนั้น มร.อีฟ ชาโป ได้ประกาศเป้าหมายทางการเงินของกลุ่มมิชลินในปี 2566 โดยคาดการณ์ว่าในปีดังกล่าวจะมียอดขายอยู่ที่ราว 24.5 พันล้านยูโรรายได้จากการดำเนินงานตามส่วนงาน[3] (Segment Operating Income) อยู่ที่มากกว่า 3.3 พันล้านยูโรกระแสเงินสดอิสระเชิงโครงสร้าง (Structural Free Cash Flow) [ยอดรวมปี 2565 และ 2566] อยู่ที่ 3.3 พันล้านยูโร และอัตราผลตอบแทนจากเงินทุน (Return On Capital Employed: ROCE) อยู่ที่ร้อยละ 10.5

นอกจากนี้ กลุ่มมิชลินยังได้เริ่มคำนวณต้นทุนของผลกระทบภายนอกเชิงลบ (Negative Externalities) บางประการ อาทิ ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งปริมาณการใช้น้ำและสารทำละลาย ทั้งยังมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบเหล่านั้นลงราวร้อยละ 10 ภายในปี 2566

อีกทั้งกลุ่มมิชลินยังได้ตัดสินใจปรับนโยบายเงินปันผล โดยกำหนดเป้าหมายใหม่ในปี 2564 ที่จะจ่ายเงินปันผลในสัดส่วนร้อยละ 50 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ (Non-Recurring Items)

ภายในงาน มร.เมอเนโกซ์ ได้เปิดเผยว่า “ภายใต้แผนกลยุทธ์ใหม่ MICHELIN IN MOTION กลุ่มมิชลินได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตใน 10 ปีข้างหน้าเอาไว้สูงมาก ผมเชื่อว่าความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรและศักยภาพด้านนวัตกรรมของทีมงานจะช่วยให้เรารักษาสมดุลระหว่างผลประกอบการทางธุรกิจที่ยั่งยืนการพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง

รวมทั้งพันธกิจต่อผืนโลกและชุมชนที่เราเข้าไปดำเนินงาน เอาไว้ได้อย่างดี  แม้จะยังคงยึดมั่นในจิตวิญญาณดั้งเดิมของเรา แต่ภายในปี 2573 ภาพรวมธุรกิจของกลุ่มมิชลินจะเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ โดยเราจะเร่งขยายกิจการไปยังธุรกิจใหม่ๆ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง

ทั้งในตลาดที่เกี่ยวข้องกับยางและตลาดอื่นนอกเหนือจากยาง ศักยภาพในการปรับตัวเพื่อนำเสนอสิ่งใหม่ได้ตลอดเวลาเช่นนี้ไม่เพียงเป็นคุณสมบัติที่เสริมความแข็งแกร่งให้กับมิชลินมานานกว่า 130 ปี แต่ยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเราในการก้าวสู่อนาคตด้วย

มร.ชาโป ยังได้กล่าวเสริมว่า “ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติในปัจจุบันและภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน มิชลินได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพพื้นฐานในการปรับตัวได้ดีต่อปัจจัยแวดล้อมต่างๆ  ตลอดจนการมีโมเดลธุรกิจที่เหมาะสมสำหรับ MICHELIN IN MOTION ซึ่งเป็นแผนกลยุทธ์ใหม่ของมิชลิน

จะช่วยให้กลุ่มมิชลินมีแนวทางในการขับเคลื่อนการเติบโตรูปแบบใหม่ๆ และลดผลกระทบภายนอกเชิงลบหลักๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มิชลินจะพัฒนาการดำเนินธุรกิจด้านยางอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ ร่วมด้วย โดยมุ่งเน้นการรักษาสถานะงบดุลและกำไรขั้นต้นให้แข็งแกร่ง

มิชลิน _ Michelin CMD 2021

สรุปเป้าหมายที่กำหนดไว้สำหรับปี 2573

เป้าหมาย

ดัชนีชี้วัด

 

ปี 2573

กำหนดค่ามาตรฐานทั่วโลกสำหรับอัตรา
ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร

อัตราความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร (Engagement Rate)

>85%

กำหนดค่ามาตรฐานทั่วโลกสำหรับความปลอดภัยในที่ทำงาน

อัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน (Total Case Incident Rate: TCIR)(1)

<0.5

 

กำหนดมาตรฐานด้านความหลากหลายและ
การมีส่วนร่วมของพนักงาน

ดัชนีด้านความหลากหลายและการมี
ส่วนร่วม (
IMDI)(2)

80/100 คะแนน

นำภาคอุตสาหกรรมสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า

ดัชนีชี้วัดความพึงพอใจของพันธมิตรธุรกิจ (Partner Net Promoter Score: Partner NPS)(3)

ดัชนีชี้วัดความพึงพอใจของผู้ใช้สินค้า

(End Customer Net Promoter Score: Partner NPS)(3)

เพิ่มขึ้น 10 จุด
จากปี
 2563

 

เพิ่มขึ้น จุด

จากปี 2563

ขับเคลื่อนการเติบโตของยอดขายอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในส่วนงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตและจัดจำหน่ายยาง

อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีของยอดขาย
ระหว่างปี 
2566-2573

สัดส่วนยอดขายของทุกกลุ่มธุรกิจรวมกัน ยกเว้นธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายยาง

5%

 

ระหว่าง 20%

ถึง 30%

สร้างคุณค่าอย่างต่อเนื่อง

อัตราผลตอบแทนจากเงินทุน (Return On Capital Employed: ROCE)(4)

>10.5%

รักษาความแข็งแกร่งของแบรนด์มิชลิน

ค่าความสามารถในการอยู่รอดของแบรนด์ (Brand Vitality Quotient)(5)

เพิ่มขึ้น 5 จุด

จากปี 2564

รักษาความเร็วในการนำเสนอนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และบริการ

ดัชนีความสามารถในการอยู่รอดของผลิตภัณฑ์และบริการที่นำเสนอ(Product/Offers Vitality Index)(6)

>30%

บรรลุการปล่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ในการผลิตและการใช้พลังงานภายในปี 2593

ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมประเภทที่ 1 และ 2

ลดลง 50%

จากปี 2553

ช่วยให้บรรลุเป้าหมายการปล่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ในด้านการ
ใช้งาน

ประสิทธิภาพพลังงานของผลิตภัณฑ์ (Products Energy Efficiency) (จากกิจกรรมประเภทที่ 3)

เพิ่มขึ้น 10%
จากปี 2563

กำหนดค่ามาตรฐานทั่วโลกสำหรับผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากโรงงานผลิต

ดัชนีผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในเชิงอุตสาหกรรม (i-MEP)(7)

ลดลง ใน 3

จากปี 2563

ดูแลให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ยางผลิตขึ้นจากวัสดุที่ยั่งยืนทั้งหมด

สัดส่วนวัสดุที่ยั่งยืน (Sustainable Materials Rate)

40%

(1) อัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน (Total Case Incident Rate: TCIR) คือจำนวนอุบัติเหตุและกรณีการเจ็บป่วยจากการทำงานต่อการทำงาน 200,000 ชั่วโมง

(2) IMDI ย่อมาจาก Diversities and Inclusion Management Indicator

(3) ในปี 2564 จะมีการจัดทำตัวบ่งชี้ประกอบ (Composite Indicatorประเภท ได้แก่

     – ดัชนีชี้วัดความพึงพอใจของผู้ใช้สินค้า (End Customer Net Promoter Score: Partner NPS) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของลูกค้ากลุ่มธุรกิจและลูกค้ากลุ่มผู้บริโภค

     – ดัชนีชี้วัดความพึงพอใจของพันธมิตรธุรกิจ (Partner Net Promoter Score: Partner NPS) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของพันธมิตรธุรกิจกลุ่มตัวแทนจำหน่ายและพันธมิตรธุรกิจกลุ่มโรงงานประกอบรถยนต์ (OEMs)

(4) การคำนวณอัตราผลตอบแทนจากเงินทุนโดยรวม (Consolidated ROCE) จะนำค่าความนิยม (Goodwill)สินทรัพย์ที่ไม่ใช่ตัวเงิน (Acquired Intangible Assets) และหุ้นในบริษัทที่ถูกลงทุนด้วยวิธีส่วนได้เสีย (Shares in Equity-Accounted Companies) มาคำนวณรวมเป็นสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ (Economic Assets

ทั้งนี้ กําไรสุทธิจากการดําเนินงานหลังหักภาษี (Net Operating Profit After Tax: NOPAT) ครอบคลุมค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ตัวเงิน และผลกำไรจากบริษัทที่ถูกลงทุนด้วยวิธีส่วนได้เสีย [ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหมวดที่ 3.6 ของคู่มือผลการดำเนินงานประจำปี 2563 ได้ที่www.michelin.com ]

(5) เป็นตัวบ่งชี้ประกอบที่ใช้เพื่อวัดความสามารถในการอยู่รอดของแบรนด์

(6) สัดส่วนยอดขายที่ได้จากสินค้าและบริการซึ่งทำตลาดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

(7) ดัชนีผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในเชิงอุตสาหกรรม (Industrial Michelin Environmental Performance: i-MEP) จะถูกนำมาใช้ติดตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินงานด้านการผลิตของกลุ่มมิชลินตลอดระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า โดยจะช่วยเข้าใจผลกระทบเหล่านี้ได้ง่ายขึ้นด้วยการเน้นประเด็นสำคัญ 5 ด้าน ได้แก่

  1. การใช้พลังงาน
  2. การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  3. การใช้สารทำละลายอินทรีย์
  4. การดึงน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ ขึ้นมาใช้ในการผลิต
  5. การผลิตขยะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ i-MEP ได้จากบันทึกระเบียบวิธีวิจัย (Methodological Note) ในหมวดที่ ของ URD ประจำปี 2563

สรุปเป้าหมายในปี 2566[4]

ยอดขายปี 2566

 

ราว 24.5 พันล้านยูโร (อัตราแลกเปลี่ยน ณ เดือนมกราคม 2564)

รายได้จากการดำเนินงานตามส่วนงาน (Segment Operating Income) ปี 2566

กำไรจากการดำเนินงานตามส่วนงาน (Segment Operating Margin)

มากกว่า 3.3 พันล้านยูโร (อัตราแลกเปลี่ยน ณ เดือนมกราคม 2564)

13.5%

กำไรจากการดำเนินงานตามส่วนงาน ปี 2566 ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทยางรถยนต์และการจัดจำหน่าย

>12%

กำไรจากการดำเนินงานตามส่วนงาน ปี 2566 ของกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับการขนส่งทางบกและการจัดจำหน่าย

>10%

 

กำไรจากการดำเนินงานตามส่วนงาน ปี 2566 ของกลุ่มผลิตภัณฑ์เฉพาะทางและการจัดจำหน่าย

>17%

กระแสเงินสดอิสระเชิงโครงสร้างรวมทั้งหมด8 ระหว่างปี 2565-2566

3.3 พันล้านยูโร

อัตราผลตอบแทนจากเงินทุน ปี 2566

>10.5%

อัตราการเติบโตเฉลี่ยของยอดขาย (ไม่รวมกลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและการจัดจำหน่าย) ระหว่างปี 2562-2566

5%

ประสิทธิภาพอุตสาหกรรม ปี 2563-2566

ประหยัดค่าใช้จ่าย 80 ล้านยูโรต่อปี เมื่อคำนึงถึงภาวะเงินเฟ้อแล้ว

การลดค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายทั่วไป และค่าใช้จ่ายทางธุรการ (SG&A) ของกลุ่มธุรกิจยาง จนถึงปี 2566

ประหยัดค่าใช้จ่าย 65 ล้านยูโร เมื่อคำนึงถึงภาวะเงินเฟ้อแล้ว

ต้นทุนของผลกระทบภายนอกเชิงลบ ปี 2562

ต้นทุนของผลกระทบภายนอกเชิงลบ ปี 2566

330 ล้านยูโร

300 ล้านยูโร

อัตราเงินปันผลต่อกำไร ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป

50% ก่อนหักค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ

(8) กระแสเงินสดอิสระเชิงโครงสร้าง คือกระแสเงินสดอิสระก่อนเข้าซื้อกิจการที่ถูกปรับให้รองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคาวัตถุดิบในบัญชีเจ้าหนี้การค้า (Trade Payables)บัญชีลูกหนี้การค้า (Trade Receivables) และบัญชีสินค้าคงคลัง (Inventories)

Check Also

Isuzu Vehicle Delivery to DHL 2024

อีซูซุส่งมอบ ISUZU KING OF TRUCKS EURO 5 MAX รุ่น GXZ ให้กับ DHL จำนวน 30 คัน

มร. มิชิมาสะ โคโนะ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ส่งมอบรถบรรทุกรุ่นใหม่! “ISUZU KING OF TRUCKS EURO 5 MAX…ขีดสุดทุกมิติขนส่ง” …