รีวิว ทดสอบรถ: All-new Toyota Commuter เครื่องยนต์ดีเซล เทอร์โบ รหัส 1GD-FTV ในพิกัด 2.8 ลิตร ซึ่งให้กำลัง 163 แรงม้าที่ 3,600 รอบต่อนาที
รีวิว ทดสอบรถ: All-new Toyota Commuter เครื่องยนต์ดีเซล เทอร์โบ 163 แรงม้า
หากคุณกำลังค้นหา Wallpaper รูปรถสวยๆเราขอแนะนำ Wallpaper รูปรถสวยๆ Download wallpaper ที่นี้ |
All-new Toyota Commuter
“ผมเป็นคนชอบขับรถก็จริง และก็ไม่เคยปฏิเสธซักครั้ง เมื่อได้โอกาสลองขับรถใหม่ ๆ แต่ครั้งนี้ผมแอบหวั่นใจไม่น้อยทีเดียว เมื่อคู่ปรับในครั้งนี้ คือ “พี่ยักษ์” อย่าง All-new Toyota Commuter โมเดลล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวไป”
จำได้ว่าเมื่อครั้งเดินผ่าน ๆ ตอนงานเปิดตัว All-new Toyota Commuter รู้สึกว่า “ใหญ่” แล้ว วันนี้ได้เจอตัวเป็นบอกเลยว่า “มโหฬาร” มาก ๆ จนแอบหวั่นใจไม่น้อยว่าจะรับมือไหว หรือไม่ กับภารกิจในการทดลองขับครั้งนี้
โดย All-New Toyota Commuter ได้รับการพัฒนา และออกแบบ โดยมีวัตุประสงค์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ทั้งผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร พร้อมทั้งตอบสนองนโยบายภาครัฐที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยบนท้องถนน ซึ่งเราจะบอกว่า All-new Toyota Commuter ใหม่ มากับจุดเด่นสำคัญทั้งหมด 5 ประการ คือ
1. การพัฒนาทางด้าน “คุณภาพ” (Quality), “ความทนทาน” (Durability) และ “ความน่าเชื่อถือ” (Reliability)
2. ความนุ่มนวล และความคล่องตัวที่ดียิ่งกว่า ด้วยงานดีไซน์ใหม่แบบ Semi-Bonnet และการวางอุปกรณ์ซับเสียงที่พิถีพิถัน เพื่อเพิ่มความเงียบภายในห้องโดยสาร ตามด้วยโครงสร้างแบบวงแหวน (Ring frame) ที่มีความแข็งแรง
ลดการสั่นสะเทือนได้ดี ตลอดจนระบบช่วงล่างด้านหน้าแบบแมคเฟอร์สัน สตรัท และด้านหลังแบบแหนบใหม่ ปิดท้ายด้วยองศาล้อที่หันได้มากยิ่งขึ้น เพื่อทำให้เกิดการคล่องตัวทั้งในขณะกลับรถ หรือการถอยจอด
ส่วนข้อ 3. คือ สมรรถนะด้านความปลอดภัยล่าสุด ที่ประกอบด้วยตำแหน่งเครื่องยนต์วางด้านหน้า พร้อมคานเหล็กที่ช่วยดูดซับแรงกระแทก เสริมด้วยถุงลมนิรภัยที่พร้อมปกป้องผู้ขับ และผู้โดยสารด้านหน้า
ไปจนถึงระบบมาตรฐานความปลอดภัยที่ครบครัน เช่น ระบบป้องกันล้อล็อก ABS, ระบบควบคุมการทรงตัว VSC, ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี TRC และระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน HAC
ข้อ 4. คือ สมรรถนะเครื่องยนต์อันทรงพลัง ซึ่งได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ทั้งกำลังแรงม้า และแรงบิดสูงสุด พร้อมด้วยความสามารถในการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีระบบขับเคลื่อนให้เลือก 2 รูปแบบ คือ
แบบอัตโนมัติ 6 สปีด และแบบธรรมดา 6 สปีด ทั้งยังสามารถรองรับการใช้น้ำมันไบโอดีเซล B20 ได้อีกด้วย สุดท้ายกับข้อ 5. คือ อุปกรณ์อำนวยความสะดวก สำหรับอรรถประโยชน์ด้านการใช้งานอย่างแท้จริง
ซึ่งจุดเด่นทั้งหมดนั้น ก็เพื่อเอื้ออำนวยให้ All-new Toyota Commuter มีประสิทธิภาพ และสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย คล่องตัวมากขึ้น … แต่ไหน ๆ มาแล้วก็ขอลองดูสักตั้ง ด้วยการคว้ากุญแจรีโมทปลดล็อคประตู โดดขึ้นประจำการในตำแหน่งหลังพวงมาลัย สตาร์ทเครื่องแล้วออกไปลุยให้รู้แล้วรู้รอด
ด้วยการขับเคลื่อนของเครื่องยนต์ดีเซล เทอร์โบ รหัส 1GD-FTV ในพิกัด 2.8 ลิตร ซึ่งให้กำลัง 163 แรงม้าที่ 3,600 รอบต่อนาที พร้อมแรงบิดสูงสุด 420 นิวตันเมตร ที่ 1,600-2,200 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด พร้อมระบบ Sequential Shift
โดยอันดับแรกที่เราต้องทำเลย คือ การทำความคุ้นเคยกับตัวรถขนาด “มโหฬาร” ทั้งจากการกะระยะผ่านกระจกมองข้าง และกระจกมองหลัง ไปจนถึงการคำนวณวงเลี้ยวให้เหมาะสม โดยเฉพาะในตรอกซอกซอยแคบ ๆ ทั้งนี้ ทั้งนั้นก็เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินที่เรายืมเค้ามา
หลังจากสร้างความมั่นใจด้วยการเคลื่อนตัวช้า ๆ บนการจราจรที่แน่นหนาจนรู้สึกว่าเริ่มมีความมั่นใจมากขึ้น แต่มันคงไม่ดีแน่ ถ้าจะต้องจมอยู่กับชีวิตในเมืองที่รถราหนาแน่นระดับนี้ เพราะฉะนั้นตัวเลือกที่ดีที่สุด คือการออกนอกเมือง ด้วยเส้นทางที่เร็วที่สุด ซึ่งจากฐานทัพของ Torque Magazine แล้ว “พัทยา” ดูจะเป็นทางเลือกที่ดี
และในระหว่างทางที่เคลื่อนตัวออกไปหาทางด่วนที่ใกล้ที่สุด เราก็ตกเป็นเป้าสายตาของเพื่อนร่วมท้องถนนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยความใหญ่โตของตัวถัง และงานดีไซน์สุดล้ำสมัย ที่เป็นจุดสนใจจากรายละเอียดต่าง ๆ
เช่น ชุดกระจังหน้าโครเมียม ประกบด้วยชุดไฟหน้ามัลติรีเฟล็กเตอร์ ไปจนถึงล้ออัลลอยแบบใหม่ขนาด 16 นิ้ว และไฟเบรกดวงที่ 3 ในด้านหลัง เสริมด้วยความปลอดภัยจาก กระจกมองข้าง, กระจกมองล้อด้านหลัง และกระจกมองหลัง
เรายังคงตั้งหน้าตั้งตาขับ All-new Toyota Commuter ต่อไป แต่ก็เริ่มผ่อนคลายมากขึ้น ด้วยการจราจรที่เบาบางลง หลังจากขึ้นทางด่วนยกระดับบางนา ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการช่วยเพิ่มความคุ้นเคยได้ค่อนข้างดี ตลอดจนเริ่มสังเกตได้ถึงจุดดีมากขึ้น ตั้งแต่ทัศนวิสัยเบื้องหน้าที่โปร่งโล่งสบาย ด้วยความสูงของตัวรถ ที่ช่วยให้ประเมินสถานการณ์ และตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
ส่วนเรื่องของขุมพลังที่มากับแรงบิดสูงส่งระดับ 420 นิวตันเมตร ในรอบต่ำตั้งแต่ 1,600-2,200 รอบต่อนาที นั้นก็ช่วยให้ “ลดข้อจำกัด” ของ “รถใหญ่” ได้มาก ทั้งจากความมั่นใจในการเร่งแซงแบบปกติด้วยการ Kick Down หรือ การลดเกียร์ลงต่ำ เพื่อกรอคันเร่งในรอบเครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงสุด สำหรับรอจังหวะเหมาะ ๆ ในการกระแทกคันเร่งส่งพลังออกไปฉุดลากตัวถังขนาดใหญ่
ซึ่งท้ายที่สุดก็สามารถทำให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับรถคันใหญ่อย่าง All-new Toyota Commuter ได้อย่างสบาย ๆ และพร้อมที่จะมาลองขับในสไตล์คนเมือง แต่ก่อนหน้านั้นเราขอสนุกอีกพักกับการเดินทางบนถนนโล่ง ๆ เนื่องจากยังคงอยาก “ลองของ” ด้วยการขับสไตล์ซิ่งเบา ๆ เพื่อซึมซับสัมผัสของพวงมาลัย ที่บอกได้เลยว่า “เฉียบ” และให้ความคล่องตัวได้ดีมาก ๆ
ขณะที่ระบบช่วงล่างนั้นก็มีการปรับเซ็ทมาให้ค่อนข้าง “เฟิร์ม” เต็มไปด้วยหนักแน่น และนุ่มนวล ชนิดที่สามารถ “รูด” ได้แบบสบาย ๆ เพราะงั้นเราก็เลย “ไป” ได้แบบไร้ขีดจำกัด แถมด้วยความดุดัน ในชนิดที่รถเบื้องหน้าต้องยอมหลบทาง
ซึ่งน่าจะมาความ “เกรง” จากการมองกระจกหลัง แล้วเห็น “รถตู้ยักษ์” ไล่บี้มาในด้านหลัง และหลังจากที่เติมความมั่นใจในการขับขี่ All-new Toyota Commuter จากการขับขี่นอกเมืองมาจนเต็มกราฟ ก็ถึงเวลาซักทีที่เราจะเดินทางกลับเข้าเมือง เพื่อลองขับอีกครั้ง ด้วยความรู้สึกที่ต่างออกไป
โดยในอีกอึดใจต่อมา เราก็เข้ามาเจอสถานการณ์ย่ำแย่แถวสนามบินสุวรรณภูมิ ด้วยการจราจรที่หนาแน่น แต่ด้วยความมั่นใจของเรา ซึ่งฝึกปรือฝีมือมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อพบว่ายักษ์ใหญ่อย่าง All-new Toyota Commuter ก็สามารถเคลื่อนตัวในเมืองได้อย่างไม่มีปัญหา
ด้วยสมรรถนะของเครื่องยนต์ที่พกพาแรงบิดมหาศาลระดับ 420 นิวตันเมตรมาให้ใช้ตั้งแต่รอบต่ำเพียง 1,600-2,200 รอบต่อนาที ฉะนั้นเค้าจึงมีความปราดเปรียว ด้วยแรงตอบสนองที่ทำให้การขับเคลื่อนรถตู้ขนาดใหญ่ในเมืองไม่ใช่ปัญหา
รวมไปถึงการตอบสนองของพวงมาลัยที่ “เฉียบคม” และ “เบาแรง” ในความเร็วต่ำ เพราะฉะนั้นจึงสร้างความคล่องตัวในการควบคุมได้ดี ผสานด้วยแรงบิดที่มากพอสำหรับการตอบสนอง ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยว่าทำไม All-new Toyota Commuter จึงมอบความคล่องตัวในการใช้งานในเมืองได้ดี จนเราเองยังเริ่มสนุกไปกับการขับขี่แบบไม่รู้ตัว
โดยสิ่งที่เราชื่นชอบก็คือ ตำแหน่งของผู้ขับขี่ที่ไม่ได้นั่งอยู่บนล้อหน้าเหมือน Commuter เจเนอเรชันที่ผ่าน แต่เป็นการนั่งอยู่หลังล้อหน้า เพราะฉะนั้นฟิลลิ่ง หรือความรู้สึกในการขับ มันจึงเหมือนรถอเนกประสงค์ SUV ขนาดใหญ่ ซึ่งสิ่งที่ควรระมัดระวังก็คือการคำนวนความยาวของตัวรถ เพื่อไม่ให้ล้อหลังต้อง “ปีน” หรือ “เบียด” ในจังหวะเลี้ยว หรือกลับรถนั่นเอง
นอกจากเรื่องของสมรรถนะที่ถูกยกระดับแล้ว ระบบความปลอดภัยก็เป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของ All-new Toyota Commuter ด้วยเช่นกัน เพื่อสนองนโยบายภาครัฐ เลยจัดมาให้แบบชุดใหญ่ ด้วย ถุงลมเสริมความปลอดภัย 3 ตำแหน่ง คือ ด้านคนขับ 2 ตำแหน่ง และผู้โดยสารด้านหน้า 1 ตำแหน่ง
ตามด้วยสัญญาณไฟกระพริบเมื่อเบรกกระทันหัน (Emergency Stop Signal), ระบบป้องกันการโจรกรรม (Immobilizer Alarm) ไปจนถึงระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน HAC (Hill-start Assist Control), ระบบป้องกันล้อล็อก ABS (Anti-lock Braking System),
ระบบควบคุมการทรงตัว VSC (Vehicle Stability Control) และระบบป้องกันล้อหมุนฟรี TRC (Traction Control) ซึ่งทั้งหมดถูกครอบคุลมด้วย Annular Frame Structure โครงสร้างห้องโดยสารที่ได้รับการพัฒนาเป็นพิเศษ
เพื่อช่วยป้องกันการยุบตัวของห้องโดยสารเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งบอกเลยว่า “คุ้ม” ขนาดนี้ บรรดาผู้ประกอบการรถขนส่งสาธารณะ หรือ คนที่อยากจะหารถตู้ไว้ใช้ซักคัน ควรต้องหันมองแล้วล่ะครับ
Specification: All-new Toyota Commuter
- Price: 1,299,000 BHT
- Engine: 2,755 CC / Diesel Turbo / 4 Cylinder 16 Valve
163 hp @ 3,600 rpm / 420Nm @ 1,600-2,200 rpm - Transmission: 6A/T / Rear Wheel Drive
- Performance: 0 – 100 Km/h @ N/A / Top Speed @ N/A
- Weight: N/A