โตโยต้า แถลงยอดขาย รถยนต์ปี 2561 พร้อมคาดการณ์ตลาดรวมในประเทศปี 2562 อยู่ที่ 1,000,000 คัน และตั้งเป้าหมายการขายโตโยต้าที่ 330,000 คัน
โตโยต้า แถลงยอดขาย รถยนต์ปี 2561 พร้อมคาดการณ์ตลาดรวมในประเทศปี 2562
มร.มิจิโนบุ ซึงาตะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ยอดขายรถยนต์รวมในประเทศไทยปี 2561 เติบโตเพิ่มขึ้น 19.2% โดยมียอดขายอยู่ที่ 1,039,158 คัน เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ผลักดันให้ GDP ของประเทศไทยเติบโต 4.2%* ส่งผลให้มียอดขายเกินหนึ่งล้านคันเป็นครั้งที่สามในประวัติศาสตร์ของตลาดรถยนต์ไทย”
สถิติการขายรถยนต์ในปี 25661 ยอดขายปี 2561 เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2560
ปริมาณการขายรวม 1,039,158 คัน +19.2%
รถยนต์นั่ง 397,542 คัน +14.8%
รถเพื่อการพาณิชย์ 641,616 คัน +22.1%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 511,676 คัน +20.6%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 447,069 คัน +22.6%
โดยโตโยต้า มียอดขาย 315,113 คัน เติบโต 31.2% โดยมีส่วนแบ่งการตลาด 30.3% เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2.8 จุด แบ่งเป็น
- รถยนต์นั่ง 112,394 คัน เพิ่มขึ้น16.3%
- รถเพื่อการพาณิชย์ 202,719 คัน เพิ่มขึ้น 41.2%
- รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 177,047 คัน เพิ่มขึ้น 32.7%
*หมายเหตุ: ตัวเลขการเติบโตของ GDP เป็นตัวเลขประมาณการ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 2 มกราคม 2562
**หมายเหตุ: ตัวเลขยอดขายรถยนต์รวมในประเทศไทยปี 2561 เป็นตัวเลขประมาณการ ณ วันที่ 21 มกราคม 2562
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ในปี 2561 ปริมาณการขายโตโยต้า
ยอดขายปี 2561 315,113 คัน
เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2560 +31.2%
ส่วนแบ่งตลาด 30.3%
ส่วนแบ่งตลาด เติบโต (จุด) +2.8*
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ในปี 2561 รถยนต์นั่ง
ยอดขายปี 2561 112,394 คัน
เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2560 +16.3%
ส่วนแบ่งตลาด 28.3%
ส่วนแบ่งตลาด เติบโต (จุด) +0.4*
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ในปี 2561 รถเพื่อการพาณิชย์
ยอดขายปี 2561 202,719 คัน
เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2560 +41.2%
ส่วนแบ่งตลาด 31.6%
ส่วนแบ่งตลาด เติบโต (จุด) +4.3*
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ในปี 2561 รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)
ยอดขายปี 2561 177,047 คัน
เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2560 +32.7%
ส่วนแบ่งตลาด 34.6%
ส่วนแบ่งตลาด เติบโต (จุด) +3.2*
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ในปี 2561 รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)
ยอดขายปี 2561 150,928 คัน
เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2560 +37.2%
ส่วนแบ่งตลาด 33.8%
ส่วนแบ่งตลาด เติบโต (จุด) +3.6*
ด้านการส่งออกโตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 293,940 คัน ลดลง 1.8% คิดเป็นมูลค่า 154,560 ล้านบาท ตลอดจนการส่งออกชิ้นส่วนและเครื่องยนต์ มูลค่า 119,284 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการส่งออกที่นำรายได้กลับสู่ประเทศไทยเป็นเงินทั้งสิ้น 273,844 ล้านบาท ลดลง 2.6% นอกจากนี้ยอดการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกจำนวน 588,939 คัน เพิ่มขึ้น 12.5%
สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ปี 2562 มร.ซึงาตะ กล่าวว่า “แนวโน้มตลาดรถยนต์ในประเทศปี 2562 จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาที่ 1,000,000 คัน เนื่องจากการลงทุนภาครัฐที่ชัดเจน และต่อเนื่อง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นการลงทุนจากภาคเอกชน รวมถึงการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ในตลาดรถยนต์”
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 2562 ยอดขายประมาณการปี 2562 เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2561
ปริมาณการขายรวม 1,000,000 คัน -3.8%
รถยนต์นั่ง 384,900 คัน -3.2%
รถเพื่อการพาณิชย์ 615,100 คัน -4.1%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 494,500 คัน -3.4%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 430,500 คัน -3.7 %
โดยโตโยต้าตั้งเป้าหมายการขายสำหรับตลาดรถยนต์ในประเทศปีนี้ไว้ที่ 330,000 คัน เพิ่มขึ้น 4.7% แบ่งเป็น
- รถยนต์นั่ง 120,400 คัน เพิ่มขึ้น 7.1%
- รถเพื่อการพาณิชย์ 209,600 คัน เพิ่มขึ้น 3.4% และ
- รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 180,500 คัน เพิ่มขึ้น 2%
ประมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้า ในปี 2562 ยอดขายปี 2561 เปลี่ยนแปลง ส่วนแบ่งตลาด
ปริมาณการขายรวม 330,000 คัน +4.7% 33.0%
รถยนต์นั่ง 120,400 คัน +7.1% 31.3%
รถเพื่อการพาณิชย์ 209,600 คัน +3.4% 34.1%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 180,500 คัน +2.0% 36.5%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 154,000 คัน +2.0% 35.8%
*หมายเหตุ: ตัวเลขยอดขายรถยนต์รวมในประเทศไทยปี 2561 เป็นตัวเลขประมาณการ ณ วันที่ 21 มกราคม 2562
สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้ คาดการณ์ไว้ว่าปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ 270,000 คัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 8% คิดเป็นมูลค่า 137,303 ล้านบาท ตลอดจนการส่งออกชิ้นส่วนและเครื่องยนต์ มูลค่า 120,662 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการส่งออกที่นำรายได้กลับสู่ประเทศไทยเป็นเงินทั้งสิ้น 257,965 ล้านบาท ลดลง 5.8%
โดยเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง รวมถึงตลาดในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ นอกจากนี้แผนการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศ และการส่งออกจะอยู่ที่ 577,000 คัน ลดลง 2.0%
มร.ซึงาตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในปัจจุบันโตโยต้ากำลังเผชิญกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และแนวโน้มใหม่ ๆ ของอุตสาหกรรมยานยนต์ ทำให้เรามีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง จากผู้ผลิต และผู้จำหน่ายรถยนต์สู่การเป็นองค์กรแห่งการขับเคลื่อน (Mobility Company) รวมถึงการให้บริการทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับระบบการเดินทาง ซึ่งในปี 2560 เราได้ริเริ่มโครงการ “CU TOYOTA Ha:mo” ภายใต้ความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาความต้องการและเงื่อนไข Ride Sharing ในเขตชุมชนเมือง จากผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมาเราได้การตอบรับที่ดีจากผู้ใช้งานถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการขับเคลื่อนที่ดียิ่งกว่า (ever-better mobility)
นอกจากนี้ โตโยต้ายังให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยี และตอบสนองนโยบายของภาครัฐที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเราจึงเริ่มการผลิตแบตเตอรี่ไฮบริดในประเทศให้เร็วขึ้นโดยจะเริ่มการผลิตที่โรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้าเกตเวย์ในเดือนพฤษภาคมนี้ พร้อมทั้งโตโยต้ายังได้ริเริ่มโครงการการจัดการแบตเตอรี่ทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ซึ่งประกอบไปด้วย
- 1. Rebuilt : คือ การนำแบตเตอรี่ใช้แล้วมาทำการคัดแยกโมดุล (เซลล์) ที่ยังสามารถใช้งานได้ นำมารวบรวมและจัดเรียงใหม่ ประกอบเป็นแบตเตอรี่ใหม่ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง
- 2. Reuse : คือ การนำแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วมาทำการคัดแยกโมดุล (เซลล์) ที่ยังคงมีประสิทธิภาพในการเก็บพลังงานไฟฟ้า นำมาประกอบเข้ากับระบบ BMS (Battery management system) ที่ควบคุมการรับและจ่ายกระแสไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บพลังงานงานสำรอง (Energy storage)
- 3. Recycle : กรณีที่โมดุลที่ผ่านการคัดแยกไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ จะถูกนำไปผ่านกระบวนการเผาเพื่อคัดแยกแร่ธาตุ และนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่ก้อนใหม่
โครงการที่กล่าวมานี้จะช่วยลดการเกิดขยะ และเสริมสร้างให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนในประเทศ ภายใต้แนวคิดการจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งช่วยลดปริมาณการนำเข้าแบตเตอรี่ และยังช่วยให้ลูกค้าสามารถลดต้นทุนการเป็นเจ้าของรถยนต์ไฮบริดได้อีกด้วย
นอกจากนี้เรายังมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานเพื่อสังคมให้ดียิ่งขึ้น (ever-better society) ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เริ่มจากโครงการ “โตโยต้า เมืองสีเขียว อยุธยา” ศูนย์การเรียนรู้แห่งแรกนอกโรงงานที่ได้เปิดตัวไปในปีที่ผ่านมา ครั้งนี้เราตั้งใจที่ต่อยอดโครงการโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมไปยังชุมชนท้องถิ่นอีก 8 จังหวัด ทั่วประเทศ ภายใต้โครงการ “Toyota City Challenge” ซึ่งเราเชื่อว่าจะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นสำหรับคนไทยทุกคน
และสำหรับโครงการโตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์ ที่ผ่านมาเราได้ดำเนินการปรับปรุงธุรกิจชุมชนใน 7 จังหวัด รวมถึงจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ 2 แห่งที่
- จังหวัดกาญจนบุรี
- จังหวัดขอนแก่น
ในปีนี้เรามีความตั้งใจอย่างต่อเนื่องในการพัฒนา SMEs โดยวางแผนปรับปรุงธุรกิจชุมชนเพิ่มอีก 10 จังหวัด และจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งที่ 3 อีกทั้งยังร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) และโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์(CIV) เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้สามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน”
มร.ซึงาตะ กล่าวปิดท้ายว่า “อย่างที่ทุกท่านทราบ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิก ภายใต้แนวคิด“Start Your Impossible” เพื่อทำในสิ่งที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้…ให้เป็นไปได้
สำหรับประเทศไทย เรามีแผนจะร่วมมือกับคณะกรรมการโอลิมปิก และพาลาลิมปิกแห่งประเทศไทย เพื่อให้การสนับสนุน และช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้นักกีฬาชาวไทยได้เข้าร่วมการแข่งขันในฐานะตัวแทนประเทศไทยที่กรุงโตเกียวในปี 2563 สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมจะเปิดเผยในงานแถลงข่าวที่จะจัดขึ้นในกลางปีนี้”
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนธันวาคม 2561*
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 111,000 คัน เพิ่มขึ้น 6.4%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 31,152 คัน ลดลง 0.7% ส่วนแบ่งตลาด 28.1%*
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 21,923 คัน เพิ่มขึ้น 42.0% ส่วนแบ่งตลาด 19.8%*
- อันดับที่ 3 ฮอนด้า 13,289 คัน ลดลง 8.1% ส่วนแบ่งตลาด 12.0%*
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 38,200 คัน ลดลง 7.8%
- อันดับที่ 1 ฮอนด้า 9,264 คัน ลดลง 12.8% ส่วนแบ่งตลาด 24.3%*
- อันดับที่ 2 โตโยต้า 9,211 คัน ลดลง 24.8% ส่วนแบ่งตลาด 24.1%*
- อันดับที่ 3 นิสสัน 4,844 คัน เพิ่มขึ้น 7.8% ส่วนแบ่งตลาด 12.7%*
3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 72,800 คัน เพิ่มขึ้น 15.8%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,941 คัน เพิ่มขึ้น 14.6% ส่วนแบ่งตลาด 30.1%*
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 21,923 คัน เพิ่มขึ้น 42.0% ส่วนแบ่งตลาด 30.1%*
- อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 5,987 คัน ลดลง 6.1% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%*
4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 58,724 คัน เพิ่มขึ้น 16.4%
- อันดับที่ 1 อีซูซุ 20,158 คัน เพิ่มขึ้น 44.2% ส่วนแบ่งตลาด 34.3%*
- อันดับที่ 2 โตโยต้า 19,429 คัน เพิ่มขึ้น 7.5% ส่วนแบ่งตลาด 33.1%*
- อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 5,987 คัน ลดลง 6.1% ส่วนแบ่งตลาด 10.2%*
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 7,198 คัน
โตโยต้า 2,324 คัน – มิตซูบิชิ 1,486 คัน – อีซูซุ 1,393 คัน – ฟอร์ด 955 คัน* – เชฟโรเลต 728 คัน
5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 51,526 คัน เพิ่มขึ้น 21.1%
- อันดับที่ 1 อีซูซุ 18,765 คัน เพิ่มขึ้น 48.3% ส่วนแบ่งตลาด 36.4%*
- อันดับที่ 2 โตโยต้า 17,105 คัน เพิ่มขึ้น 16.4% ส่วนแบ่งตลาด 33.2%*
- อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,928 คัน* ลดลง 8.7%* ส่วนแบ่งตลาด 9.6%*
*หมายเหตุ: สถิติการจำหน่ายรถยนต์รวมปี 2561 เป็นตัวเลขประมาณการ ณ วันที่ 21 มกราคม 2562
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – ธันวาคม 2561*
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 1,039,158 คัน เพิ่มขึ้น 19.2%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 315,113 คัน เพิ่มขึ้น 31.2% ส่วนแบ่งตลาด 30.3%*
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 177,864 คัน เพิ่มขึ้น 10.8% ส่วนแบ่งตลาด 17.1%*
- อันดับที่ 3 ฮอนด้า 128,290 คัน เพิ่มขึ้น 0.4% ส่วนแบ่งตลาด 12.3%*
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 397,542 คัน เพิ่มขึ้น 14.8%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 112,394 คัน เพิ่มขึ้น 16.3% ส่วนแบ่งตลาด 28.3%*
- อันดับที่ 2 ฮอนด้า 95,793 คัน เพิ่มขึ้น 0.8% ส่วนแบ่งตลาด 24.1%*
- อันดับที่ 3 มาสด้า 51,257 คัน เพิ่มขึ้น 39.4% ส่วนแบ่งตลาด 12.9%*
3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 641,616 คัน เพิ่มขึ้น 22.1%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 202,719 คัน เพิ่มขึ้น 41.2% ส่วนแบ่งตลาด 31.6%*
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 177,864 คัน เพิ่มขึ้น 10.8% ส่วนแบ่งตลาด 27.7%*
- อันดับที่ 3 ฟอร์ด 65,842 คัน* เพิ่มขึ้น 18.5%* ส่วนแบ่งตลาด 10.3%*
4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 511,676 คัน เพิ่มขึ้น 20.6%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 177,047 คัน เพิ่มขึ้น 32.7% ส่วนแบ่งตลาด 34.6%*
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 162,132 คัน เพิ่มขึ้น 10.9% ส่วนแบ่งตลาด 31.7%*
- อันดับที่ 3 ฟอร์ด 65,145 คัน* เพิ่มขึ้น 23.7%* ส่วนแบ่งตลาด 12.7 %*
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 64,607 คัน
โตโยต้า 26,119 คัน – มิตซูบิชิ 12,982 คัน – อีซูซุ 12,554 คัน – ฟอร์ด 9,628 คัน* – เชฟโรเลต 2,196 คัน
5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 447,069 คัน เพิ่มขึ้น 22.6%
- อันดับที่ 1 โตโยต้า 150,928 คัน เพิ่มขึ้น 37.2% ส่วนแบ่งตลาด 33.8%*
- อันดับที่ 2 อีซูซุ 149,578 คัน เพิ่มขึ้น 11.8% ส่วนแบ่งตลาด 33.5%*
- อันดับที่ 3 ฟอร์ด 55,517 คัน* เพิ่มขึ้น 24.7% * ส่วนแบ่งตลาด 12.4%*
*หมายเหตุ: สถิติการจำหน่ายรถยนต์รวมปี 2561 เป็นตัวเลขประมาณการ ณ วันที่ 21 มกราคม 2562
โตโยต้า ขับเคลื่อนความสุข