Breaking News

ฟอร์ดชวนรำลึกประวัติศาสตร์วิทยุในรถไปกับ ‘ฟอร์ด เฮอริเทจ วอลต์’ เนื่องในวันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ

Ford Thai Radio Day

ฟอร์ดชวนคนรักรถมาร่วมรำลึกถึงประวัติศาสตร์ของวิทยุในรถยนต์เนื่องในโอกาสวันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ 25 กุมภาพันธ์ของทุกปี กับเรื่องราวความเป็นมาของระบบความบันเทิงบนรถยนต์ในคลังประวัติศาสตร์ออนไลน์ ‘ฟอร์ด เฮอริเทจ วอลต์’  

ทราบหรือไม่ว่า ก่อนที่วิทยุจะมาอยู่บนหน้าจอทัชสกรีนของระบบความบันเทิงในรถยนต์ดังเช่นปัจจุบัน เมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว วิทยุบนรถนั้นมีขนาดใหญ่กินพื้นที่เบาะหลังทั้งหมด

การแข่งขันในวงการวิทยุ

การแข่งขันอันดุเดือดของวงการเครื่องเสียงในรถยนต์เริ่มต้นจากการออกอากาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อปี พ.ศ. 2463 ของสถานีวิทยุกระจายเสียง KDKA ทำให้ผู้ฟังรับทราบข่าวสารได้รวดเร็วกว่าการอ่านหนังสือพิมพ์

ทั้งยังทราบข่าวสารขณะเดินทางได้อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2465 ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายจึงเริ่มติดตั้งวิทยุแบบพกพาได้ แต่เป็นวิทยุที่มีขนาดใหญ่เทอะทะ และมีราคาสูงถึง 1 ใน 5 ของราคารถยนต์

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่ถึง 10 ปี ผู้ผลิตรถยนต์ค้นพบวิธีรับมือกับปัญหาคลื่นวิทยุแทรกแซงการจุดระเบิดในเครื่องยนต์และปัญหาขนาดแบตเตอรี่ที่ใหญ่เกินไปได้ มีการพัฒนาเสาอากาศและรวมวิทยุเข้าไปอยู่ในแผงหน้าปัดรถยนต์ได้ อย่างเช่น วิทยุในช่องเก็บของด้านหน้าอันโด่งดังของฟอร์ด

และในปี พ.ศ. 2476 ผู้ผลิตรถยนต์ 31 ใน 33 รายได้จำหน่ายรถยนต์ที่มีวิทยุและเสาอากาศเป็นทางเลือกเสริมสำหรับผู้ซื้อ ขณะที่ฟอร์ดเริ่มออกแบบวิทยุติดตั้งตามสั่งขายพร้อมกับรถยนต์ผ่านผู้จำหน่าย

ที่มาของวิทยุบนรถฟอร์ด

ในปี พ.ศ. 2472 ชาร์ลส์ โธมัส ผู้จัดการห้องปฏิบัติการเสียงของฟอร์ด (Ford Acoustical Laboratory) ได้ทดลองติดตั้งวิทยุบนรถฟอร์ด Model A ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากถังน้ำมันที่อยู่ด้านหลังแผงหน้าปัดรถทำให้เขาต้องติดวิทยุใต้พื้นรถ และติดตั้งไม้จูนเสียงขึ้นมาเหมือนกับเกียร์ที่อยู่ระหว่างขาคนขับ ถึงแม้จะเป็นเพียงการทดลองเบื้องต้น แต่ก็เป็นแนวทางให้ฟอร์ดพัฒนารถต้นแบบขึ้นมาได้

วิทยุติดรถเครื่องแรกของฟอร์ดผลิตขึ้นโดยบริษัท Grigsby-Grunow ในปี พ.ศ. 2475 หลังจากรถฟอร์ด V8 ในตำนานเปิดตัวไม่นาน โดยวิทยุรุ่น Majestic 111 เป็นวิทยุที่ทำงานด้วยมอเตอร์ มีเครื่องรับวิทยุแบบซูเปอร์เฮทเทอร์โรดายน์ (superheterodyne receiver)  แบบ 6 หลอด มีระบบควบคุมเสียงอัตโนมัติ และมีฟีเจอร์ที่ช่วยลดเสียงรบกวนระหว่างเปลี่ยนคลื่นวิทยุ

ในปี พ.ศ. 2477 ฟอร์ดติดตั้งวิทยุขนาดกะทัดรัดจาก Philco และได้ร่วมกันพัฒนาเครื่องรับสัญญาณที่ ออกแบบให้ติดตั้งบริเวณกลางแผงหน้าปัดรถยนต์แทนที่เขี่ยบุหรี่

ความต้องการวิทยุบนรถเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี พ.ศ.2475 ฟอร์ดได้ติดตั้งวิทยุบนรถที่จำหน่ายในอเมริกาไปกว่า 25,000 เครื่อง และเพิ่มเป็นกว่า 200,000 เครื่องในปี พ.ศ. 2478 ความนิยมของวิทยุในรถยนต์แพร่หลายอย่างรวดเร็ว โดยฟอร์ดนับเป็นผู้นำทั้งด้านการออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีวิทยุบนรถยนต์

ยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของเครื่องรับสัญญาณวิทยุเกิดขึ้นในทศวรรษที่ 1950  นับจากการเริ่มติดตั้งวิทยุบนรถในทศวรรษที่ 1930 โดยพัฒนาขึ้นอย่างจริงจังและรวดเร็ว ตั้งแต่การใช้หลอดแก้วขนาดเล็ก ไปจนถึงระบบ 12 โวลต์ การนำทรานซิสเตอร์มาใช้เป็นแอมปลิไฟเออร์ จนถึงการใช้วงจรแบบผสม การนำวงจรพิมพ์มาใช้ และเปลี่ยนเป็นวิทยุทรานซิสเตอร์ในท้ายที่สุด

ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 ถึง 1970 วิทยุได้มีวิวัฒนาการขึ้นอีกครั้งด้วยการเพิ่มตัวเลือกเครื่องรับสัญญาณวิทยุแบบ AM/FM พร้อมเครื่องเล่นเทป และระบบค้นหาช่องสัญญาณAM/FM และในปีพ.ศ. 2516 มีเครื่องเล่นสเตอริโอเทปเพิ่มเข้ามา ตามด้วยวิทยุ AM/FM สเตอริโอที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์พร้อมกับเครื่องเล่นเทป 8 แทร็กแบบควอดราโซนิก (quadrasonic) ในปี พ.ศ. 2522

จากนั้นเป็นต้นมา ระบบเครื่องเสียงบนรถก็มีส่วนประกอบอื่นๆ เพิ่มขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่นเทปคาสเซ็ท เครื่องเล่นซีดี ช่องต่อ MP3 และระบบสตรีมมิ่งแบบไร้สายอันเป็นที่ฮือฮา อย่างไรก็ตาม วิทยุ AM/FM ยังไม่หายไปไหน ฟอร์ดจึงได้รวบรวมข้อมูล และรูปภาพเกี่ยวกับความเป็นมาของวิทยุบนรถฟอร์ดมาให้ได้ชมกัน

Ford Model T first Ford car with a radio in Detroit Michigan undated neg 96054
นายตำรวจวอลเทอร์ สตริก จากเมืองดีทรอยต์ มลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2464 กับรถตำรวจ Model T ซึ่งมีเสาอากาศขนาดใหญ่ และมีเครื่องรับสัญญาณทางเดียวขนาดใหญ่อยู่ท้ายเบาะหลัง
1934 Ford instrument panel with radio neg 58977
รถซีดาน ฟอร์ด V8 รุ่นปี 1933 หรือปี พ.ศ. 2476 ซึ่งนับเป็นรถคันแรกของฟอร์ดที่มีตัวรับสัญญาณAM ภายในรถ
1941 Ford accesory radio neg C6
ในทศวรรษที่ 1940 การออกแบบวิทยุพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว และบางรุ่นก็ถอดแบบมาจากกระจังหน้าของรถฟอร์ด นวัตกรรมในยุคนั้นยังรวมถึงการตั้งคลื่นความถี่ยอดนิยมไว้ล่วงหน้าได้ด้วย
1955 Ford convertible instrument panel neg C608
รถฟอร์ดรุ่นปี 1955 มีแผงหน้าปัดรถยนต์แบบ ‘Astra-dial’ พร้อม ‘หน้าปัดวิทยุรูปวงกลม รับกับแผงควบคุมเครื่องปรับอากาศและนาฬิกา’
1964 Ford Falcon Sprint radio and glove compartment neg 131502-604
ฟอร์ด ฟอลคอน รุ่นปี 1964 เป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบวิทยุที่คงรูปแบบต่อเนื่องมาหลายทศวรรษ และปี พ.ศ. 2507 นี้เอง ฟอร์ดยังได้เปิดตัววิทยุที่มีเครื่องเล่นเทป 8 แทร็กแบบควอดราโซนิก (quadrasonic) ที่ใช้บนรถฟอร์ดรุ่นยอดนิยมที่เปิดตัวในพ.ศ. 2509 อย่าง มัสแตง ธันเดอร์เบิร์ด และลินคอล์น รุ่นปี 1966
1976 Ford Thunderbird radio
เทป 8 แทร็กเป็นที่นิยมแพร่หลายในทศวรรษที่ 1970 ในขณะที่คลื่น FM เริ่มเข้ามาแทนที่ AM
1985 Ford Ranger instrument panel radio heater air conditioning ar
ในปี พ.ศ. 2525 การเปิดตัวโซนี่ วอล์คแมน ทำให้เทปคาสเซ็ทเข้ามาแทนที่เทป 8 แทร็ก
1992 Ford Explorer interior ar
ฟอร์ดเป็นแบรนด์แรกๆ ที่นำเทคโนโลยีแผ่นซีดีมาใช้ โดยเปิดตัวรถคันแรกที่ติดตั้งเครื่องเล่นซีดีจากโรงงาน คือ ลินคอล์น ทาวน์ คาร์ รุ่นปี 1987 ซึ่งฟอร์ดได้พัฒนาเครื่องเล่นซีดีที่มาพร้อมลำโพง 140 วัตต์ 12 ตัว ที่ให้คุณภาพเสียงราวกับอยู่ในคอนเสิร์ต ภายใต้ความร่วมมือ 2 ปีกับ JBL
2012 Ford Ranger SYNC1 console
ฟอร์ดเปิดตัว SYNCÒ รุ่นแรก เป็นระบบความบันเทิงที่รับได้ทั้งคลื่นสัญญาณ AM/FM และยังเชื่อมต่อและควบคุมโทรศัพท์มือถือหรือเครื่องเล่นผ่าน USB ได้ในปี พ.ศ. 2550
2020 Ranger Wildtrak_SYNC3
แนะนำ SYNCÒ 3 ระบบความบันเทิงเจเนอเรชันใหม่ของฟอร์ดที่มอบประสบการณ์การใช้งานที่สะดวกสบาย และลดความซับซ้อน
Ford SYNC4A
ปัจจุบัน เครื่องเสียงในรถฟอร์ดมาพร้อม SYNCÒ ซึ่งเป็นระบบความบันเทิงสุดล้ำ พร้อมระบบสั่งงานด้วยเสียง

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่

Check Also

Toyota Gazoo Racing Thailand 2024 Chiang Mai - Altis

Toyota Gazoo Racing Thailand 2024 สนามที่ 4 จัดเต็ม Night Show สุดอลังการ เร้าใจกับ Car Performance Show วันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2567 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่  700 ปี จังหวัดเชียงใหม่

นายณัทธร ศรีนิเวศน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พร้อมด้วย นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายสงค์ศักย์ คำดีรุ่งริรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย …