TOYOTA REVO CARAVAN #STAGE3
มหัศจรรย์เปอร์เซียการเดินทางจากอุซเบกิสถานสู่อิหร่านสานต่อเส้นทางสายไหม
จากเมื่อเก้าปีก่อนทางโตโยต้าได้จัดทริปคาราวานวีโก้สู่เส้นทางสายไหมมาสุดที่ประเทศอุซเบกิสถานซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ของการเดินทางโดยรถยนต์สู่นอกประเทศซึ่งถือว่าเป็นการพิสูจน์สมรรถนะ ของรถกระบะวีโก้ได้เป็นอย่างดี และในครั้งนี้ทางบริษัทโตโยต้าได้มีการจัดคาราวานอีกครั้งจากประเทศไทยสู่อิตาลีกับระยะทางกว่า 20,000 กิโลเมตรโดยรถยนต์อีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นการเปิดหน้าใหม่ของรถกระบะรีโว ที่จะเป็นการพิสูจน์ถึงสมรรถนะของขุมพลังและช่วงล่างที่แข็งแกร่งของรถกระบะรีโวได้อย่างดี
นับเป็นความตื่นเต้นอีกครั้งหนึ่งของทีมงาน ที่ได้รับเกียรติให้รวมเป็นหนึ่งในคาราวานประวัติศาสตร์ครั้งนี้ โดยเราได้รับช่วงต่อที่สเตท 3 ประเทศอุซเบกิสถาน โดยที่เราขึ้นเครื่องบินจากไทย เพื่อที่จะไปเปลี่ยนมือกับ stage 2 ที่เดินทาง จากchina – uzebekistand โดย stage1 ออกเดินทางจาก bkk – china ไปแล้ว . การเดินทางวันแรก ขบวนคาราวานนัดกัน 7.00 ที่ สนามบิน สุวรรณภูมิ เพื่อที่จะไปที่ tashkent( uzb ) flight Kc932 โดยสายการบิน air astana เวลา 10.30 – Almaty 16.30 kazacstan และรอต่อเครื่อง 22.40 – 23.20 ด้วยสายการบิน Uzbekistan airway เราค่อนข้างประทับใจเมื่อก้าวลงที่สนามบิน almaty สวยสุดๆ อย่างกับสวีสฯ ทิวเขาที่มีหิมะปกคลุมพร้อมทุ่งหญ้าสีเขียวตระการตาสุดลูกหูลูกตา ลมเย็นๆที่ให้คุณรู้สึกเหมือนอยู่ในยุโรปโดยเวลาที่นั่นจะช้ากว่าบ้านเรา 2 ชั่วโมง เราจึงพอมีเวลา ออกไปสำรวจรอบๆ สนามบินซึ่งมีอุณหภูมิค่อนข้างเย็นประมาณ 22 องศา เราสัมผัสได้ถึงความเป็นยุโรปผสมผสาน ความเป็นโซเวียตเก่า เพราะว่าบ้านเรือนที่นี่จะเป็นแนวตึกแถวสองชั้นสีสันและรูปทรงใกล้เคียงกันหมด มองออกไปไกลๆ เราจะเห็นแนวภูเขาที่มีหิมะปกคลุมก็คือเทือกเขาคอเคซัส.
โดยอาหารที่นี่มีหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเนื้อม้าแกะเนื้อแกะก็มีให้รับประทานกัน คนที่นี้นิยมทานเนื้อม้า ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ โดยส่วนมากเนื้อม้าจะนำเข้าจากมองโกเลีย โดยรสชาติของตัวเนื้อม้าจะค่อนข้างหยาบ และไม่มีรสไม่มีชาติแต่ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีในการลองชิมดู
ส่วนในร้านค้าสะดวกซื้อที่นี่จะมีลักษณะเหมือนบ้านเมื่อเข้าไปก็จะมีของขายหลากหลาย แบบโชห่วยบ้านเรา. ผู้คนที่นี่ค่อนข้างเป็นมิตรแต่ดูเงียบขรึมอาจจะเพราะการแยกตัวมาจาก คอมมิวนิสต์เก่าซึ่งค่อนข้างมีกฎระเบียบเยอะก็เลยอาจจะส่งผลมาถึงปัจจุบันนี้ทำให้ไม่ค่อยเห็นรอยยิ้มจากบุคคลทั่วไปเท่าไรนัก
รถยนต์ส่วนมากที่นี่จะเป็นรถมือสองจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี.ก็มีหลากหลายค่ายแต่ก็ยังมีรถรุ่นคลาสสิกการยุคโซเวียตอย่างลาด้าให้เห็นอยู่บ้าง หลังจากผ่านไป 6 ชั่วโมงครึ่งเราก็ได้เดินทางต่อไปสู่ประเทศอุซเบกิสถานโดยเวลาอีกประมาณ 40 นาที ด้วยเครื่องบิน เวลาก็ล่วงมาค่อนข้างดึกมากแล้ว ในที่สุดก็ถึงที่พักโรงแรมเรดิสัน ใน tashkent ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ uzebekistand เราก็ได้พักผ่อนในวันแรก หลังจากที่รอนแรมมาเกือบทั้งวัน
วันที่สองของการเดินกับความตื่นเต้นในการได้มาสานต่อจากเก้าปีที่แล้วในการขับรถต่อจากเส้นทางสายไหมที่เคยได้ขับไว้ สู่เส้นทางของมาร์โคโปโล มุ่งสู่อิตาลี แม้จะไม่ได้ไปสุดทางแต่ก็ภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางครั้งนี้ ตามแผนเดิมเราต้องไป อีกหนึ่งเมือง คือเมือง smarkand หลังจากเยื่ยมชมเมืองหลวงแล้วแต่เหมือนเคาะซ้ำกรรมซัด ช่วงเวลาที่เรามาประเทศอุซเบกิสถาน ได้เป็นเจ้าภาพจะจัดประชุมไชน่าซัมมิทในอีกไม่ถึงหนึ่งอาทิตย์ ซึ่งจะมี ประธานาธิบดีของจีนและรัสเซีย มาร่วมประชุมด้วย ซึ่งจะพักอยู่ใกล้กับโรงแรมที่เราพักอยู่ตอนนี้ทำให้มีการตรวจเข้มทั้งโรงแรม ร่วมไปถึงการเข้าออกประเทศ จึงทำให้คาราวานไม่สามารถออกประเทศได้ ทางคณะคาราวานของเราพยายามติดต่อกับทางตำรวจ และทหารว่าพอจะเป็นไปได้มั้ยที่เราจะออกเดินทางกันในวันนี้ตามแพลนเดิม เรานั่งรอลุ้นกันอยู่ที่โรงแรมประมาณ 2 ชั่วโมง ก็ได้รับข่าวว่าไม่สามารถจะออกเดินทางได้ในวันนี้ คณะเราเลยจำเป็นต้องนอนที่เมือง ทาซเค้นส์ ต่ออีกหนึ่งคืน วันนี้จึงเป็นวัน พักผ่อนของทีมสามอีกหนึ่งวัน
โดยทางทีมงาน ทรานเอเซียผู้นำทริปนี้โดยคุณกิตติ นิลถนอม เจ้าเก่าที่ได้รับความไว้วางใจจาก ค่ายรถต่างๆและสื่อมวลชนในการพาผจญภัยต่างประเทศเสมอมา ได้พาไปเยี่ยมชมแลนด์มาร์คสำคัญของเมืองหลวงแห่งนี้ เป็นอนุเสาวรีย์ผู้เสียสละชีวิตในการกอบกู้เอกราชจากโซเวียตรวมไปถึงยังมีมัสยิดโบราณที่มีความสวยงามและแปลกตาซึ่งยังติดอยู่กับริมแม่น้ำ สำคัญที่ตัดผ่านกลางใจเมืองแห่งนี้โดยน้ำที่ไหลค่อนข้างมีความเชียวเพราะว่าเป็นน้ำจากภูเขาน้ำแข็งละลายลงมา ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้ค่อนข้างชุมชื่นและมีน้ำเกือบตลอดทั้งปี
นอกจากนี้ใกล้ๆกันยังมีเสาส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ของ tashkent ซึ่งเราอาจจะเห็นเสาทรงเดียวกันนี้ได้ที่รัสเซียเพราะคนสร้างเป็นวิศวกรคนเดียวกัน หลังจากได้เยี่ยมชมแลนด์มาร์คอย่างพอใจกันแล้วเราก็เดินทางไปลิ้มรสอาหารของถิ่นที่ร้านจูเมนจี้ ที่นี่ผักและผลไม้ถือว่าเป็นของมีราคาแพงเพราะว่าจะเป็นสินค้านำเข้าส่วนใหญ่. เนื่องจากอากาศที่นี่ค่อนข้างหนาวเย็นตลอดทั้งปี ประกอบกับปริมาณฝนที่มีไม่มากนัก ทำให้การเพาะปลูกไม่ใช่เรื่องง่าย อาหารที่ทานมื้อแรกส่วนมากจะเน้นส่วนผสมไปทางผักและผลไม้เสียส่วนใหญ่ แต่ก็คงไม่ค่อยถูกปากคนไทยนัก ก่อนกลับไปพักผ่อนที่โรงแรมเดิมอีกหนึ่งคืน
วันที่สามนับเป็นวันที่ทุกคนรอคอยไฟเขียวสำหรับการเดินทางระยะทาง 590 กิโลเมตร ด้วยกันชดเชยเมื่อวาน รวบ 2 เมืองที่จะต้องเดินทางทีเดียว ล้อหมุน 07.15 พาหนะในการตะลุยในครั้งนี้คือรถกระบะรีโว ที่เดินทางมาจากประเทศไทยลัดเลาะเพื่อนบ้านสู่จีนตัดทะลุมาจนถึงที่นี่ รถทุกคันยังสมบูรณ์ไม่มีปัญหา แม้จะผ่านการขับขี่ที่หนักหน่วงในทุกสภาพถนนและอากาศที่ต่างสุดขั้วที่ร้อนถึง 50 องศา จนหนาวเย็นกว่า 0 องศา ผ่านระยะทางหลายพันกิโลเมตร พร้อมที่จะถูกส่งต่อมายยังทีมสามในการเดินทางต่อ โดยรถมีจำนวนทั้งหมด 9 คัน รีโวจำนวน 8 คัน และ นิวฟอร์จูนเนอร์อีกหนึ่งคัน เราได้รถเบอร์ 02 เป็นรีโว สีน้ำเงิน รุ่นสี่ประตู ขับเคลื่อนสี่ล้อ เกียร์อัตโนมัติรุ่นท็อป โดยบัดดี้ในการเดินทางของรถคันนี้มีสามท่านรวมผมด้วย บัดดี้ร่วมเดินทางครั้งนี้คือพี่อภิชัย ไกรนุกูล จากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ พี่ชายอีกคนที่พูดน้อยยิ้มยาก แต่เปี่ยมด้วยข้อคิดและฝีมือการขับขี่ที่ไว้ใจได้ และอีกท่านพี่โต้ง เศรษฐพงศ์ เผ่าวัฒนา จากนิตยสารเพื่อนเดินทาง อีกท่านที่อยู่ในแวดวงสื่อไลฟ์สไตส์มาอย่างยาวนานเราจัดการส่งกระเป๋าเดินทางของแต่ละท่านใส่ท้ายกระบะที่ถูกติดตั้งให้มีฝาปิดที่ทั้งสะดวกและปลอดภัย รีโว่ นับเป็นกระบะอีกรุ่นที่มีการปฎิวัติรูปแบบทั้งภายนอกและภายใน โดยรูปลักษณ์ภายนอกดูบึกบึนมาก เส้นสายของตัวรถเสริมให้ดูบึกบึน แข็งแกร่ง ภายในเน้นความหรูหรามากขึ้นจนแทบเทียบเท่า รถเก๋งหรูกันเลยที่เดียว ไฟหน้าแบบ LED โปรเจคเตอร์ พร้อมไฟ Daytime Running Light แบบ LED ที่เพิ่มความสวยงามและยังช่วยในเรื่องความปลอดภัยได้อีกทางหนึ่ง กระจังหน้าโครเมี่ยมซี่แนวนอนขนาดใหญ่ กันชนด้านล่างติดตั้งไฟตัดหมอก ไฟหน้าของ ไฮลักซ์ รีโว่ ทุกรุ่น มาพร้อมระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ สมสง่าด้วยล้ออัลลอยขนาด 17 นิ้ว พร้อมยางแบบ All Terrain ขนาด 265/65 R17 ด้านท้ายติดตั้งไฟท้ายทรงสามเหลี่ยมแนวตั้ง พร้อมไฟตัดหมอกหลังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในกรณีฝนตกหนัก หรือหมอกลงจัด ติดตั้งไฟเบรกดวงที่ 3 แบบ LED บริเวณฝากระบะท้ายพร้อมกันชนท้ายตกแต่งด้วยโครเมี่ยมพร้อมแผ่นกันลื่นสีดำขนสัมภาระใส่ท้ายกระบะพร้อมออกเดินทาง
ในที่สุดขบวนได้เริ่มออกเดินทางทางกันเสียทีโดยเราจะมุ่งหน้าไปทานข้าวเที่ยงที่เมือง Smakand การขับขี่รถที่นี่จะเป็นวิ่งขวา ซึ่งขับขี่สวนทางกับบ้านเรา ซึ่งก็ไม่ได้ยากเย็นนักถ้าได้ขับขี่สักครู่ก็จะเริ่มคล่องตัวไปเอง ถนนหนทางในตัวเมืองค่อนข้างดี แต่พอเริ่มออกมาข้างนอกเมืองก็คงจะไปตางจากตามต่างจังหวัดบ้านเรามากนัก อากาศที่นี่มีอุณหภูมิพอๆ กับที่ประเทศไทย แต่ไม่มีเหงื่อ ซึ่งหมายกว่าว่าที่นี่อากาศค่อนข้างแห้งมาก ทำให้หิวน้ำค่อนข้างบ่อย บ้านเรือนที่นี่ตามนอกเมืองจะใช้ดินปั้นสร้างขึ้นมา ซึ่งก็มีเสน่ห์ไปอีกแบบ
ระหว่างทางเราอาจจะพบคนโบกรถเป็นจุดๆ เพราะประชากรที่นี่ค่อนข้างอยากจน บวกกับนอกเมืองจะไม่มีรถประจำทาง หรือมีน้อยมาก ถึง มากที่สุด ต้องอาศัยโบกรถที่ผ่านมาแล้วตกลงราคาและเส้นทางกันเอาเองตามความพอใจ ซึ่งบางจุดแทบจะเป็นที่ร้างถ้าโบกไม่ได้ก็คงไม่สามารถไปไหนเองได้และต้องรอกันนานมาก นับเป็นอีกวิถีของคนที่นี่ โดยรถที่รับส่งส่วนมากจะเป็นรถรุ่นเก่าๆ เพราะคนที่เริ่มมีเงินที่ใช้รถใหม่ก็จะไม่ค่อนสนใจในการรับผู้โดยสารซักเท่าไร ตลอดระยะทางช่วงแรกส่วนมากจะเป็นถนนลาดยางสภาพดีบางไม่ดีบางแล้วแต่ช่วง แต่ระหว่างเมืองส่วนมากการเป็นทิวเขาร้างและทะเลทราย ทะเลทรายที่นี่อาจจะไม่ได้สวยเหมือนซาฮาร่า แต่เป็นแผ่นดินบนทราบที่ไม่มีไม้ใหญ่มีแต่กอไม้หรือต้นหญ้าให้เห็นไกลสุดหูสุดตา คนที่นี่อาศัยการใช้น้ำบาดาลในการดำรงชีพ ถ้าตรงไหนมีน้ำก็จะมีต้นไม้ใหญ่หรือการเกษตรให้เห็น รวมไปถึงบ้านคน น้ำบาดาลที่นี่มาจากฝนส่วนหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่มาจากน้ำแข็งที่ละลายมาจากบนเขาเสียส่วนใหญ่
ซึ่งตามกำหนดเดิมคือเมืองที่เราต้องมาพักเมื่อคืนก่อน เมืองนี้พี่ตุ้ม พันธ์ศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ ไกด์ไทยคนเก่งที่ประสานได้อย่างยอดเยี่ยมที่เดินทางมาพร้อมกับเรา และอยู่ต่อยาวจนจนถึงอิตาลี ได้บอกว่า เมืองแห่งนี้เก่าแก่ที่สุดในเอเชียกลาง ฉายา “เมืองแห่งโดมสีฟ้า”มรดกโลกอิสลาม มีมัสยิสที่ติด 1 ใน 5 ของโลกอยู่ ได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเหนิดแห่งนิยาย 1001 arabian nights และได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกอิสลาม นั้นคือ จตุรัส registan ที่ถูกสร้างขึ้นปี 1916-1936 ซึ่งประกอบด้วยมัสยิด ขนาดใหญ่สามอัน แต่ตัวมัสยิดที่ใช้จริงคืออันขวา อีกสองหลังจะเป็นที่ขายของและสถานที่สอนศาสนา ซึ่งร้านขายของจะเป็นห้องๆ อยู่รอบๆ ข้างในมัสยิด ซึ่งจะจะมีขายของที่ระลึก ไม่ว่าจะเป็นผ้าต่างๆ ที่ติดตู้เย็น และเครื่องเงิน รวมถึงของต่างๆ
ก่อนที่จะเยี่ยมชมความสวยงามของจัตุรัส registan ทางทีมงานได้จัดมื้อเที่ยงสุดอลังการในร้านที่ดังอันดับต้นให้เราได้ลองชิมอาหารแท้ๆ “เคบับ” ซึ่งแท้จริงแล้วมีต้นกำเนิดมาจากอุสเบกีสถาน แต่ดันไปดังอยู่ที่ตรุกี จนทำให้หลายท่านๆเข้าใจผิดกันไป เนื้อที่ใช้จะเป็นเนื้อไก่ และเนื้อแกะ ซึ่งเนื้อแกะที่นี่ทำได้ค่อนข้างดีไม่มีกลิ่นรสชาตอร่อยทีเดียว และที่สำคัญที่นี่ไม่มีเนื้อหมูเพราะเป็นประเทศที่นับถืออิสลามเสียส่วนใหญ่ แล้วออกเดินทางต่อ เพื่อไปที่
เมือง bukgara เส้นทางช่วงนี้เป็นทางลาดยาง 4 เลน เหมือนช่วงแรกๆ อาจมีการทำถนนที่เป็นบางช่วงเท่านั้น เราใช้เวลาเดินทางประมาณ 4-5 ชั่วโมง เพราะประเทศอุสเบกิสถานเขาจำกัดความเร็วนอกเมืองห้ามเกิน 100 ก.ม./ชม. ในเขตชุมชน 70 ก.ม/ชม. การโดนจับความเร็วที่นี่อาจส่งผลทำให้เกิดความวุ่นวายเวลาเอารถออกนอกประเทศไทย ทางคาราวานจึงค่อนข้างทำตามกฎอย่างเคร่งครัดแต่รถเจ้าถิ่นค่อนข้างใช้ความเร็วที่สูงกว่าเรามากนักอาจจะเป็นเพราะคุ้นเคยถนนและจุดจับความเร็ว และที่นี่รถช้าจะวิ่งขวากัน เลนซ้ายสำหรับรถเร็ว
ขบวนคาราวานของเราค่อนข้างได้รับความสนใจจากคนที่นี่เป็นอย่างมาก รถเจ้าถิ่น บางคันเปิดกระจกทักทาย บางก็โบกมือให้ และสำหรับบางคันก็พยายามถ่ายวีดีโอเราอย่างเอาเป็นเอาตาย นั่นก็คืออีกมิตรภาพที่คุณจะได้จากการเดินทางรถยนต์และประสบการณ์แสนวิเศษ ที่สำคัญคือรอยยิ้ม ที่แม้จะพูดสื่อสารกันไม่ได้ แต่รอยยิ้มก็สามารถทำให้ผู้คนทั่วโลกเข้าใจในความหมายของมัน เราเดินทางกันต่ออีก 300 กิโลเมตรมุ่งหน้าสู่เมืองชายแดน bukgara ในที่สุดก็มาถึงประตูเมืองเก่าของเมืองนี้ที่ยังคงเหลือรอดอยู่ให้เราเห็นถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งมีอายุหลายพันปี ถือว่าเป็นการพักเบรกขบวนไปในตัว หลังจากนั่นเราก็เติมเชื้อเพลิงอีกครั้ง เพราะพรุ่งนี้เราจะเข้าสู่ประเทศเติร์กเมนิสถาน ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองนี้เพียง 90 กม.ก็จะถึงชายแดนหลังจากที่ขบวนเราจอดเพื่อเติมน้ำมันก็ได้รับความสนใจจากคนท้องถิ่น ทั้งที่เข้ามาพูดคุย ทั้งที่มาถ่ายรูปกับพวกเรา และที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ถ่ายกะรถรีโว่ เจ้าพระเอกของงานนี้ ซึ่งรถกระบะที่นี่มีขนาดเล็กกว่ารีโว่มาก รวมไปถึงหน้าตา แต่เราก็ยังพอได้เห็นวีโก้อยู่บาง คนที่นี่ไม่ค่อยใช้กระบะเท่าไรนักส่วนมากจะเป็นรถซีดานอาจจะมาจากรถที่มีให้เลือกไม่มากนักและการนำเข้ารถก็คงแพงเกินไป เมืองแห่งนี้ถือว่าเป็นอีกเมืองที่มีบทบาทสำคัญของนักเดินทางในสมัยก่อน ซึ่งมีความเป็นเปอร์เซียสูงมาก
โรงแรมที่เราพักอยู่ใจกลางเมือง ที่นี่สิ่งก่อสร้างบ้านเรือนจะเป็นก้อนอิฐที่ถูกออกแบบให้เป็นงานสถาปัตยกรรมที่น่าหลงใหลมีความยิ่งใหญ่และโดดเด่น เมืองนี้ก็มีมัสยิดที่โดดเด่นอีกแห่งแต่เราไม่ทราบชื่อ มีความใหญ่โตและสวยงามมาก แต่เราก็ไม่พลาดที่จะเก็บภาพสวยๆมาฝาก เพราะในโรงแรมที่เราพักก็มีภาพมุมต่างๆของมัสยิดโชว์เอาไว้ด้วย
เรามาถึงที่นี่ก็ค่อนข้างเย็นกว่าจะทานข้าวเสร็จก็ประมาณ 2 ทุ่มกว่าเราก็ได้มีโอกาสเดินชมเมือง ก็ช่วงค่ำ แต่ในเมืองกับดูครึกครืนอยากมากมีทั้งการร้องเพลงงานเลี้ยง ผู้คนออกมามากมาย ได้สอบถามทางทีมงานได้ใจความว่าช่วงนี้ที่เรามาเป็นช่วงถือศีลอดของคนที่นี่ โดยธรรมเนียมคนที่นับถืออิสลามที่ปฎิบัติจะไม่ทานข้าวละน้ำรวมกระทั่งน้ำลายก็ห้ามกลืน จนกว่าพระอาทิตย์จะตก ถึงจะทานข้าวได้ รวมไปถึงเรื่องการร่วมเพศด้วย แต่ถ้าผู้นับถือตั้งครรภ์หรือติดภาระกิจสามารถถือศีลอดในวันหลังได้เป็นการทดแทน นั่นคือสาเหตุที่เราเห็นคนมากมายในช่วงค่ำนั่นเอง ผมได้เดินไปกับพี่สมหมาย แห่งหนังสือพิมพ์ สยามกีฬา สายตาทุกคู่จับจ้องมาที่เรา ด้วยรูปร่างและหน้าตาที่แตกต่างจากคนแถวนี้ จึงเป็นจุดสนใจไม่น้อย แต่อีกอย่างเพราะคงไม่เคยมีคนไทยมาเหยียบ ณ เมืองแห่งนี้ เราอาจจะเป็นคนไทยกลุ่มแรกๆ ที่ได้มีโอกาสมาเยือนที่นี่ เราเดินไปเดินมาอยู่พักใหญ่ เราก็ได้เห็นหลายแง่มุมว่าคนที่นี่ไม่ได้ดูน่ากลัว แต่การเสพข่าวจากโลกภายนอกที่แสดงออกมา ร่วมไปถึงภาพยนตร์ก็ดีที่ทำให้รู้สึกว่าคนอิสลามดูน่ากลัวดูไม่เป็นมิตร แต่ตลอดการเดินทางผมกล้าพูดเลยว่าคนเหล่านี้มีมิตรไมตรีดีกว่าคนไทยด้วยกันเองเสียอีก
เคยไหมที่คุณไปเที่ยวต่างจังหวัดในบ้านเราและจะมีคนเข้ามาพยายามทักทายกับคุณ ทั้งๆที่เราพูดภาษาเดียวกันแท้ๆแต่คนที่นี่ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ให้ความสนใจในการทักทายพวกเราอย่างมากไม่ว่าจะเป็นรอยยิ้มภาษาพูดท้องถิ่นหรือทักทายแบบฝรั่งแต่ผู้หญิงที่นี่อาจจะถูกวัฒนธรรมกีดกันในการแสดงออกจึงไม่ง่ายที่จะมาพูดกับคนแปลกหน้าได้ ถ้าพ่อ หรือสามีไม่อนุญาต แต่วัยรุ่นหญิงรุ่นใหม่ก็มีความพยายามในการสื่อสารกับคนต่างชาติมากขึ้น
วันที่สี่ของการเดินทางแม้เมื่อคืนเราจะอยู่กันดึกไปหน่อยแต่ก็ยังคงพร้อมสำหรับการเดินทาง แสงแรกที่ถูกสาดส่องมายังเมืองกระทบซากเมืองโบราณให้ความรู้สึกน่าหลงใหล อากาศเย็นยามเช้า 20 กว่าองศาช่วยให้เราสดชื่น เพราะวันนี้เป็นวันสุดท้ายที่เราจะอยู่ที่อุสเบกิสถาน ซึ่งเรากำลังจะข้ามไปสู่ประเทศเติร์กเมนิสถาน เราเดินทางมาถึงด่านชายแดนอุสเบกิสถาน เวลาประมาณ 11 .00 น ทำเรื่องเอกสารเพื่อที่จะข้ามแดนไปยังเติร์กเมนิสถาน โดยบริเวณตม.ของทุกประเทศจะไม่สามารถถ่ายภาพได้โดยเด็ดขาด จึงเล่าให้ฟังได้เพียงเท่านั้น เพราะด่านนี้ส่วนมากจะเป็นด่านรถบรรทุกขนของหรือไม่ก็คนท้องถิ่น เราอาจจะเป็นกลุ่มแรกๆในการนำคาราวานเข้าประเทศคนขับรถเข้าประจำที่รถ ส่วนคนที่ไม่เกี่ยวข้องก็จะมาเข้าแถวเรียงหนึ่ง ที่ประตูรั้วชายแดน ซึ่งจะมีทหารถือปืน AK-47 เป็นคนตรวจรอบแรกว่าหน้าเราตรงกับพาสสปอร์ตหรือไม่ ให้นึกถึงลานโล่งที่มีรั้วเหล็กและลวดหนาม โดยจะถูกส่งให้เข้าไปที่ละคนโดยแต่ละคนก็ลากสัมภาระของตัวเองเข้าไป บอกตรงๆ ว่าค่อนข้างตื่นเต้น มันช่างเหมือนในหนังทีเดียว ด้วยความที่ไม่ค่อยมีคนเข้าออกนักภายใน ตม. มีนกนางแอ่นมาทำรังกันอย่างมากมาย เก้าอี้ก็ค่อนข้างมีฝุ่นและขี้นกอยู่แทบทุกหนแห่ง หลังจากทุกคนผ่านการตรวจ ก็ต้องมารอลุ้นการตรวจรถอีกที หลังจากขับออกมาจากตม.ประเทศอุสเบกีสถานได้
ก็มาเจอกับ No Man’s Land หรือเขตเชื่อมต่อพรมแดนซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ หรือที่เรียกอีกอย่างว่า เขตปลอดคน ถ้าทางทหารเขาเรียก เขตปลอดทหารเพราะว่าเป็นเขตที่คู่ต่อสู้ทุกฝ่ายเล็งอาวุธหนักอาวุธเบาจ้องเขม็งเอาไว้กะถล่มข้าศึกให้เรียบถ้าเคลื่อนที่เข้ามาในพื้นที่สังหาร ซึ่ง No Man’s Land ระหว่างสองประเทศนี้ มีระยะทางค่อนข้างไกลน่าจะมีเกือบหนึ่งกิโลเมตร ซึ่งถ้าเทียบระหว่างของประเทศเติร์กเมนิสถาน กับประเทศอิหร่านนั้นห่างกันแค่รั้วกันเอง โดยเราเสียเวลาในขั้นตอนต่างๆ กว่าจะผ่านด่านไปได้ก็เสียเวลาไปถึงบ่ายสามโมงเย็น เพราะประเทศนี้เป็นประเทศปิด ไม่มีสถานกงศุกลในไทย จึงจำเป็นต้องแจ้งชื่อมาล่วงหน้า และไม่ใช้ใครก็จะเข้ามาได้ง่ายๆ แม้มีเงินก็ตาม เพราะต้องได้รับเชิญจากบริษัทใหญ่ในประเทศที่มีธุรกิจและรัฐบาลรู้จัก แล้วจึงส่งชื่อให้รัฐบาลอนุญาตอีกครั้งถึงจะเข้ามาได้ คณะเรารอการติดวีซ่ากับจ่ายเงินกันตรงนี้จึงทำให้เสียเวลามากอีกโข เรายังต้องขับรถไปยังเมือง Mary ประเทศเติร์กเมนิสถาน อีก 390 กิโลเมตรซึ่งจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง ซึ่งพอออกมาได้ มีรถไกด์นำขบวนเราอีกทีพาเราไปยังจุดหมายต่อไป ขับมาซักพักใหญ่ก็มีรถตำรวจนำ ซึ่งบอกได้เลยว่าไม่ธรรมดามากๆ ในการเปิดทางจราจรเหนือกว่าตำรวจบ้านเราเยอะ
ระหว่างทางเราได้ข้ามผ่านแม่น้ำสายหลักซึ่งมีการก่อสร้างสะพานอยู่ จึงต้องใช้สะพายชั่วคราว ซึ่งเป็นสะพานแบบยุทธวิธีของทหารคือเป็นเรือแพมาต่อกันและให้เรือขนาดใหญช่วยดัน ซึ่งสะดวกและสามารถรองรับรถบรรทุกสิบล้อพ่วงขนาดใหญ่ได้สบายๆ พอสักพักก็ออกจากเมืองมุ่งสู่ทางหลวงที่จะมุ่งไปยังเมือง Mary เป็นทางตรงยาวๆ แต่ถนนแย่มากครับเป็นคลื่นลอน หลุมบ่อ และร่องลึก ตลอดเวลา ซึ่งยากมากที่จะละสายตาจากถนนได้ ถือว่าเป็นถนนที่อันตรายพอสมควร แต่ด้วยระบบความปลอดภัยที่ขนมาอย่างเต็มสเตป เช่นระบบเบรก ABS พร้อมระบบกระจายแรงเบรก EBD และเสริมแรงเบรก BA ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัด HAC ระบบควบคุมความเร็วขณะลงทางลาด DAC และพระเอกของช่วงนี้ระบบควบคุมการทรงตัว VSC ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี TRC ระบบควบคุมการส่ายของเทรลเลอร์ด้านท้าย TSC ช่วยลดแบ่งเบาภาระของคนขับไปได้มากในบางจังหวะที่ไม่คาดคิด ระบบต่างๆช่วยดึงไม่ให้รถเสียอาการจากพื้นถนนที่ไม่เรียบและเป็นล่องลึก นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนของช่วงล่างที่พัฒนาขึ้นจากรุ่นก่อนและฐานล้อที่กว้างขึ้นยังส่งผลช่วยลดการสะเทือนในห้องผู้โดยสารได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับรุ่นเก่าอย่างวีโก้ ซึ่งรีโว่ ทำได้ดีอย่างน่าประทับใจ นอกจากระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ ยังช่วยลดความเมื่อยล้าของผู้ขับขี่ได้ดีพอสมควร แถมการใช้งานก็ไม่วุ่นวาย ขบวนใช้ความเร็วประมาณ 120-140 กม./ชม. ตามความเร็วของรถตำรวจที่นำขบวน บรรยากาศโดยรอบสองข้างทางถนนช่วงนี้เป็นทะเลทราย อย่างแท้จริงนานๆ จะเห็นหมู่บ้านอยู่ไกลๆ แต่ก็ทำให้เรารู้ว่านี่คืออีกโลกหนึ่งที่น้อยคนนักจะได้เข้ามาสู่ประเทศแห่งนี้ ทั้งขบวนที่มากันคราวนี้คงมีแค่พี่กิตติ แห่งทรานเอเซียเท่านั้นที่เคยก้าวมาที่นี่ ชายคนนี้ไม่ธรรมดาเพราะเป็นคนไทยคนแรกที่ขับรถรอบโลกด้วยใจรักและน้ำพักน้ำแรงของตนเอง ตามสโลแกน “แค่มีทาง เราจัดให้”
และแล้วเราก็เดินทางมาถึงเมือง Mary เมืองนี้เป็นเมืองที่สำคัญเมืองหนึ่งบนเส้นทางสายไหม เพราะเมืองนี้จะเป็นเหมือนจุดศูนย์กลาง ว่าจะไปอิหร่าน ไปจีน หรือไปยุโรป เมืองนี้ในสมัยก่อนจึงเป็นจุดที่คาราวานการค้ามาแวะพัก แถมเมืองนี้ยังมีสถานที่สำคัญที่ มาโคโปโล บันทึกการเดินทางเอาไว้ว่ามาแวะที่จุดนี้คือ สุสานของสุลต่านซันจา ซึ่งเป็นผู้ปกครองเมือง โดยมีรูปแบบการปกครองคล้ายสมัยพ่อขุนรามคำแหงของบ้านเรา ถ้าใครมีเรื่องทะเลาะกัน เจ้าเมืองก็จะเป็นผู้ตัดสินให้ทั้งสองฝ่ายเอง จากที่พี่ตุ้มไกด์คนเก่งได้เล่าให้เราได้ฟังว่าเมืองนี้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขและเจริญรุ่งเรืองมาก และมีความแข็งแกร่งทั้งสมบัติและกำลังทหาร แต่ก็ต้องมาพ่ายให้แก่ เจงกีสข่าน ซึ่งถือว่ามีความโหดเหี้ยมมาก เพราะหลังจากยึดเมืองได้ภายในสามวันก็สังหารประชาชนทั้งหมดของเมืองกว่า สองแสนคนตายสิ้น จนเมืองเตริ์กล่มสลายและทำลายทุกอย่าง
โดยสุสานของสุลต่านซันจาได้ถูกมาโคโปโล บันทึกไว้ว่าเป็น ดับเบิ้ลโดมที่สวยงามที่สุด แต่ที่นี่ไม่มีร่างของสุลต่านซันจาอยู่ เพราะญาติได้เอาพระศพไปซ่อนตั้งแต่สมัยเจงกีสขานบุก เนื่องจากความเชื่อของคนยุคนั้นว่าต้องทำลายทุกอย่างให้สิ้นซากทั้งหมดรวมถึงสุสานด้วย ซึ่งทุกวันนี้ก็ไม่มใครทราบว่าพระศพอยู่ที่ใด ด้วยเวลาที่ล่วงเลยจนดึกมากแล้วเพราะที่นี่ถ้าไม่สามทุ่มตะวันไม่ลับขอบฟ้า ขบวนคาราวานของพวกเราก็ทานข้าวเย็นกันที่จุดนี้ เป็นแบบปิคนิค นั่งชมสุสานที่งดงาม พร้อมวิวทิวทัศน์ที่กว้างใหญ่งดงามแปลกตาที่อยู่ตรงหน้า ที่มีไฟหน้ารถช่วยส่อง นับเป็นอาหารอีกมื้อที่พิเศษและคงยากนักทีจะมีใครได้มาสัมผัสเฉกเช่นเดียวกับเรา หลังจากนั้นเราก็เดินทางเข้าเมืองต่อเพื่อไปที่พักอีกประมาณ 40 นาทีในที่สุดเราก็เดินทางมาถึงที่พักอย่างปลอดภัยทุกคัน ซึ่งทุกคนต่างแยกย้ายไปกันด้วยความเหนื่อยล้า
วันที่ห้าที่เมือง Mary ในประเทศเติร์กเมนิสถานจากบ้านเรือนที่ดูเหมือนจะมีแต่บ้านดินชั้นเดียวตอนที่เราเข้ามา ได้กลับมีชีวิตชีวามากขึ้น ตึกที่มีรูปทรงแปลกตาสวยงาม ผู้คนออกมามากมายช่างต่างจากเมื่อคืนยิ่งนัก เราเห็นผู้หญิงแต่ตัวด้วยชุดประจำถิ่นที่มีความโดดเด่นและสวยงาม แต่ด้วยความกลัวๆ กล้าที่จะถ่ายรูปผู้หญิงที่นี่ เพราะถือว่าผิดกฎหมายจึงยากมากที่จะขอถ่ายรูป แต่เราก็อยากนำเสนอวัฒนธรรมและความสวยงามที่แตกต่างของชนชาติเลยถ่ายมาให้ชมได้เล็กน้อยเวลาที่นี่ช้ากว่าบ้านเรา สองชั่วโมง ซึ่งจุดหมายวันนี้คือมุ่งสู่เมืองหลวง Askabuk ระยะทางประมาณ 380 กิโลเมตรสภาพถนนดีกว่าเมื่อวาน แต่ก็ยังคงเป็นคลื่นขับแล้วเหมือนนั่งเรือ
ซึ่งมาจากสภาพถนนที่พัง เพราะรถบรรทุกที่บรรทุกสินค้าวิ่งระหว่างประเทศใช้เส้นทางนี้เยอะ ทำให้ถนนพัง แต่รัฐบาลของเติร์กเมนิสถานก็ไม่ซ่อมแซมมากเพราะไม่ค่อยมีคนอาศัยอยู่มากเท่าไหร่นัก ขับทางตรงๆ ยาวๆ มาจนถึงถนนที่วิ่งขนานกับชายแดนอิหร่าน แต่วิวของเทือกเขาที่อยู่ทางซ้ายมือนั้นช่างอลังการ เทือกเขานี้เป็นเทือกเขาที่ขั้นระหว่างเติร์กเมนิสถาน กับ อิหร่าน โดยมีความยาวทั้งหมด 400 กิโลเมตร คนใช้รถท้องถิ่นที่นี้บางคันขับรถค่อนข้างบ้าระห่ำ ขับปาด ไม่ให้สัญญาณไฟ จี้ท้ายขบวน ทำให้บางทีก็สร้างความลำบากใจให้คาราวานพอสมควร แต่เราก็ใช้ความเร็วปรกติ แต่มิตรภาพข้างทางจากผู้ชื่นชมก็ยังคงมีอยู่ เราได้พบรอยยิ้มจากเด็กและคนท้องถิ่นที่ต่างให้ความสนใจในขบวนเราอย่างมาก บางคันแซงไปแล้วก็ชะลอมาทักทายใหม่ จนในที่สุดเราก็มาถึงเมืองหลวง Askabuk ทุกคนถึงกลับตื่นตะลึงในเมืองแห่งนี้
เป็นเมืองแห่งแลนด์มารค์เมืองหลวงของประเทศ TM ฉายา Las vegus ของเอเชียกลาง ถนนที่เรียบกริบ ขยะและฝุ่นทรายไม่มีให้เห็น บ้านเรือนและตึกส่วนมากถูกจัดอย่างมีแบบแผน และทุกแห่งใช้หินอ่อนสีขาว โดยเฉพาะบ้านนายยกรัฐมนตรีจะเป็นหินอ่อนสีขาวจากอิตาลีทั้งหมด สอบถามมาว่าที่ใช้หินอ่อนนอกจากความสวยงามแล้ว สีขาวยังช่วยกระจายความร้อนได้ดีอีกด้วย โดยพื้นฐานประชากรที่นี่ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพราชการ และโดยผู้ที่อาศัยอยู่ที่นี่ และทำงานในเมืองนี้ทั้งหมดรัฐบาลออกเงินค่าเช่าที่พักอาศัยให้ เรียนฟรีถึงม.6 จ่ายค่าแก๊ซ ค่าน้ำให้ แถมให้เงินอีก 300 เหรียญสหรัฐ นอกจากนี้รถที่นี่ก็จะมีรถดีใช้ค่อนข้างเยอะกว่าประเทศที่ผ่านมาเป็นเพราะภาษีรถยนต์นำเข้าแค่ 300 เหรียญสหรัฐ และรถยนต์ส่วนมากจะเป็นโตโยต้า กับ เล็กซัส แถมราคาน้ำมันก็ถูกแสนถูกดีเซลลิตรละ 9 บาทเท่านั้น
ประเทศเติร์กเมนิสถานถือว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวยเพราะมีทรัพยากรน้ำมันและแก็สธรรมชาติจำนวนมหาศาล เป็นสินค้าส่งออก รวมถึงการบริหารโมเดลแบบประมาณประเทศสิงค์โปร นั้นคือเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำไมไม่จำเป็นต้องเปิดประเทศ แถมยังเป็นคู่ค้ากับประเทศดูไบอีกด้วยของใช้หลายๆ อย่างถูกส่งมาจากดูไบ ที่ยอดเขาไกลๆเรายังเห็นตึกที่มีหน้าตาคล้าย บุรจญ์อัลอาหรับ โรงแรมที่หรูหราในนครรัฐดูไบอีกด้วย
สิ่งก่อสร้างที่นี่ค่อนข้างอลังการไม่ว่าจะเป็นอนุเสาวรีย์ประธานาธิบดี คนแรกก็ดี ซึ่งประเทศนี้พึ่งมีประธานาธิบดีได้สองท่าน หลักการเลือกประธานาธิบดีของที่นี่คือเป็นแล้วอยู่ยันเสียชีวิตถึงค่อยมีคนใหม่ ถัดออกมาไม่ไกลนักจะพบกับ Feris ชิงช้าสวรรค์ที่ฉาบด้วยหินอ่อน โดยเฉพาะตึกของทางการ ก็มีการแฝงรูปลักษณ์ต่างๆ เอาไว้ แค่เห็นตึกคุณก็จะทราบว่าเป็นตึกเกี่ยวกับกระทรวงอะไร อย่างเช่นตึกกระทรวงพลังงานที่ถูกออกแบบให้มีรูปทรงคล้ายไฟแช๊ค หรือกระทรวงการศึกษาที่ตึกถูกออกแบบให้เหมือนหนังสือกางออก เป็นต้น และเราได้รับเกียรติให้ไปทานข้าวที่ Bagi kosgi ซึ่งจะเปิดเฉพาะโอกาสสำคัญๆ โดยมีรัฐมนตรีคนสำคัญที่เป็นผู้เชิญเราเข้าประเทศมาให้การตอนรับ นับเป็นอีกประเทศที่มีความโดดเด่นและเหลือเชื่อเกินบรรยาย นับเป็นอีกความประทับใจของพวกเราทุกๆคนที่ได้มีโอกาสมาสัมผัสประเทศนี้
เริ่มวันที่หก ของการเดินทาง เราเตรียมตัวพร้อมออกเดินทางเพราะวันนี้เราต้องออกจากเติร์กเมนิสถาน มุ่งหน้าข้ามเขาสู่ชายแดนเพื่อข้ามมายังแดนเปอเซียประเทศอิหร่าน สำหรับข้าวเช้าที่ขาดไม่ได้คงเป็นไข่ต้ม เสบียงยามยากที่ช่วยเติมเต็มให้เราได้เป็นอย่างดี เพราะว่าวันนี้ต้องข้ามประเทศอีกครั้ง หน้าโรงแรมเริ่มชลมุนวุ่นวายมีนักข่าวมาตั้งกล้องอยู่ ความจริงเริ่มกระจ่าง เมื่อไกด์ของเราเดินเข้ามาบอกว่านักข่าวมาถ่ายขบวนคาราวานของเรา พร้อมสัมภาษณ์ผู้ร่วมคาราวานและให้โปรโมทประเทศให้หน่อย เพราะเติร์กเมนิสถานกำลังจะเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาในร่มเอเซียนเกมส์ ในปี2017 สัมภาษณ์เสร็จก็ยังพาเราไปชมสถานที่จัดการแข่งขัน เป็นสนามกีฬาอันยิ่งใหญ่อลังกาลที่กำลังทำการก่อสร้างอยู่เราถือว่าเป็นคนไทยกลุ่มแรกก็ว่าได้ที่ได้มาเหยียบสนามแห่งนี้ เราออกมาจากตัวเมืองหลวงลัดเลาะไปตามแนวเทือกเขาที่กั้นกลางระหว่างสองประเทศ วิวทางที่ขับผ่านมันช่างงดงาม เกินคำบรรยาย ขับรถผ่านโค้งซ้ายขวา ถนนข้างหน้ายาวสุดตา ภาพเทือกเขาสูงชัน ที่มีภูมิทัศน์ที่งดงาม อากาศเริ่มเย็นขึ้นเพราะว่าเราขึ้นที่สูง สายลมที่ปะทะหน้าเรา เมื่อเปิดกระจกทำให้เราได้กลิ่นอายความบริสุทธิ์ของธรรมชาติที่น้อยคนจะได้มีโอกาสมาสัมผัส ทำให้เรารู้ว่าโลกมันช่างกว้างใหญ่นัก ไม่มาก็ไม่รู้ ถึงรู้ก็ยากนักที่จะมีโอกาสจะได้มา จะมีสักกี่คนที่มีโอกาสเข้ามาวิ่งและเห็นถนนเส้นนี้เพราะเป็นเขตของทหารต้องขับรถ
ข้ามจากเติร์กเมนิสถาน ไป อิหร่านเท่านั้นถึงจะเห็น มีเงินก็ไม่สามารถมาเห็นกับตาได้ ระหว่างทางมีฝูงกวางป่าวิ่งตามขบวนของเรา ซึ่งตอนนี้เราก็มาถึงบนยอดเขาซึ่งเป็นจุดข้ามแดนมาสู่ฝ่งอิหร่าน วิธีการทางตม.ของทั้งสองประเทศนี้ไม่วุ่นวายเท่ากับตอนขาเข้า แต่ทุกท่านที่จะมาอิหร่านเรื่องนี้สำคัญมาก คือที่อิหร่านห้ามนำแอลกอฮอลทุกชนิดเข้าประเทศมีความผิดร้ายแรงขั้นอาญา ทำให้ทริปนี้ในการเดินทางถูกขนานนามว่า “ทริปชีวจิต” งดเหล้าเข้าอิหร่านกันไป สำหรับขาดื่มคงเซ็งไม่น้อย ทีมคาราวานรอไม่กีชั่วโมงเราก็ข้ามสู่ประตูแห่งเปอร์เซีย ประเทศอิหร่าน แต่ขอบอกว่าอากาศที่ด่านนี้ดีมากๆ เย็นสบายๆ กับ 10 องศาปลายๆ เมื่อขบวนพร้อมเดินทางออกจากด่านวิ่งลงจากเทือกเขาเดิม มุ่งหน้าสู่เมือง Mashhad ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับ 2 ของประเทศอิหร่าน ระหว่างทางเราต้องขับผ่านเทือกเขาสูงชัน ซึ่งก็จะเป็นการพิสูจน์พละกำลังของเครื่องยนต์ใหม่ดีเซล 4 สูบ แถวเรียง 16 วาล์ว DOHC VN Turbo พร้อมอินเตอร์คูลเลอร์ รหัส 1GD-FTV (High) ความจุ 2.8 ให้กำลังสูงสุด 177 แรงม้า (PS) ที่ 4,400 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 420 นิวตัน-เมตร ที่ 1,400 – 2,600 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ ทำให้การขับขี่ผ่านเทือกเขาที่สูงชันผ่านไปได้แบบสบายๆ เราไม่ต้องดึงเกียร์ช่วยแต่ตัวรถก็มีพละกำลังเพียงพอ แต่ถ้าจะให้ตอบสนองมากยิ่งขึ้นกดปุ่ม PWR Mode เพื่อเรียกอัตราเร่งจะยิ่งตอบสนองอัตราเร่งได้ดียิ่งขึ้น ช่วงล่างที่ถูกออกแบบมา ได้แสดง
ประสิทธิภาพในทางโค้ง ด้วยความแม่นยำของพวงมาลัยดูลงตัว เราสามารถคอนโทรลรถได้อย่างเฉียบคมในทุกๆโค้ง ทำให้รถทุกๆคันสนุกสนานกับการขับขี่ คารวานของเราวิ่งลัดเลาะเขาลูกแล้วลูกเล่า ภาพของเทือกเขาขนาดใหญ่มโหฬารที่มีลวดลายและสีสัน สุดจินตนาการเป็นสิ่งที่น่าประทับใจอีกอย่างของชายแดนแห่งนี้ แต่ที่ตามยอดเขาจะมีป้อมตรวจการณ์ของทหารอยู่เป็นช่วงๆ พอพ้นแนวเขาเราก็มาสู่ถนนไฮเวย์
ทางตรงยาวช่วงนี้เราเพิ่มความเร็วขึ้นอีกนิดเพื่อจะได้เข้าไปถึงในตัวเมืองไม่ดึกมากนับเป็นวันแรกที่เราเข้าถึงที่พักโดยที่ฟ้ายังไม่มืด ขบวนเข้าสู่เมือง Mashhad ทั้งขบวนถึงกับอึ๋งกับการขับรถของคนที่นี่ อยู่ในระดับทำลายล้าง ประจวบเหมาะเป็นช่วงเวลาเลิกงานรถออกมาเต็มไปหมด แถมสัญญาณไฟเลี้ยวไม่ต้องหวัง เสียแตรมีให้ได้ยินกันตลอดแต่ไม่หนักหน่วงเหมือนเวียดนามถ้าใครเคยไปก็พอนึกออก สำหรับการขับขี่แค่คุณทิ้งระยะห่างกับรถคันหน้าครึ่งคันรถ รถท้องถิ่นพร้อมพลีชีพเข้าระหว่างช่องนั้น ถ้าคุณไม่เบรคมีชนแน่นอน ทำให้เราต้องเบรกกระทันหันหลายต่อหลายครั้ง แต่ด้วยระบบเบรกแบบหน้าดิสก์ที่มีการพัฒนาให้ใหญ่ขึ้นกว่าในรุ่นก่อน หลังดรัม สามารถหยุดรถได้อย่างรวดเร็วฉับไว ทำให้เรามั่นใจในการขับมากขึ้น แล้วเราก็เดินทางมาถึงที่พักในใจกลางเมืองนอนหลับพักผ่อนเก็บแรงขับรถกันต่อในวันรุ่งขี้น เส้นทางยาวๆ 900 กว่ากิโลเมตร มุ่งเมือง Yazd แต่ก็อดออกไปสำรวจบรรยายกาศในเมืองอิหร่านกันเสียหน่อยที่นี่เวลาจะช้ากว่าบ้านเราสองชั่วโมงครึ่ง เราเจอร้านขายของแห้งพวกถั่วต่างๆ อินทผลัมแห้ง สด ซึ่งที่บ้านเราราคาค่อนข้างสูงแต่ที่นี่ ราคาเพียงกิโลกรัมละ 70 บาท ไม่รอช้าช็อปสิครับ เพราะจากประสบการณ์ถ้าเจออะไรที่อยากซื้อและสมเหตุและผลซื้อเถอะครับ รอน้ำบ่อหน้ามักจะผิดหวังกันทุกรายไป
วันที่เจ็ดของการเดินทาง ซึ่งคาราวานทริปนี้ถูกแบ่งออกเป็น 5 Stage ใหญ่ โดยเริ่มต้นมาตามเส้นทางของมาโคโปโลจบที่อิตาลี ทริปที่เราอยู่ตอนนี้คือ Stage3 อุสเบกีสถาน – เติร์กเมนิสถาน – อิหร่าน โดยแต่ละ Stage จะมีจุดเด่นในเรื่องราวของมัน โดยทริปเราจะเป็นที่สุดอยู่ 2 เรื่องคือการรอเปลี่ยนเครื่องนานที่สุด และอีกอย่างก็คือเป็นทริปที่ขับรถวันเดียวไกลที่สุด ซึ่งก็คือวันนี้ เพราะเราต้องขับรถรวดเดียว 913 กิโลเมตรภายในวันเดียว ขบวนคาราวานออกจากเมืองแต่เช้าเพื่อชดเชยเวลาเพราะจากเมือง Mashhad สู่เมือง Yazd ระยะทางค่อนข้างไกล ขบวนออกมาตอนเช้าพบว่าแทบไม่มีรถ ซึ่งต่างจากตอนเย็นเมื่อวาน จึงไม่รอช้าถามพี่ตุ้มไกด์คนเก่ง ได้บอกกับเราว่า เนื่องจากเป็นช่วงเดินถือศีลอดร้านค้าร้านอาหารต่างๆ เริ่มเปิดกันตอน 2 ทุ่ม แถมคนที่นี่ยังเริ่มทำงานตอนประมาณ 10 โมงเช้า เราเลยไม่เจอกับความอลหม่าน เหมือนเมื่อเย็นที่เราเข้ามาในเมือง เส้นทางวันนี้เป็นไฮเวย์ที่ค่อนข้างตรงถึงมีโค้งก็จะเห็นแต่ไกลเพราะเป็นเส้นทางที่ลากตัดเนินเขาไปเรื่อยๆ พอวิ่งมาหลายร้อยโลทางทีมงานก็เริ่มหาที่ทานข้าว แต่ก็ค่อนข้างลำบากเพราะเป็นช่วงถือศีลอด ทำให้หาร้านข้าวยากมากยิ่งขึ้น แถมยังต่างบ้านต่างเมืองทำให้เสียเวลาหาร้านข้าวพอสมควร เพราะร้านทั่วๆ ไปจะไม่เปิดขายตอนกลางวัน ต้องเป็นเจ้าถิ่นถึงจะรู้ เพราะว่าจะมีบางร้านที่เปิดขายข้าวให้กับคนที่ไม่ได้ถือศีลอด โดยตลอดทางจะเจอด่านตรวจค่อนข้างบ่อยเกือบทุกๆ 50-100 กิโลเมตรทางทีมงานจึงได้คุยกับทางตำรวจซึ่งเขาก็สงสัยว่าเรามาทำอะไรพอแจ้งว่าเรากำลังจะไปเมือง Yazd เขาก็ค่อนข้างตกใจเพราะว่าไกลมาก ทางตำรวจก็เลยพามาทานร้านข้าวซึ่งเมนูที่ทานจะเหมือนเดิมเพิ่มเติมคือกลิ่นสาปแกะ แทบทุกวัน ก็เริ่มเอียน ก็คือข้าวสวยกับแกะย่าง หรือ อาจจะมีไก่ย่างบางในบางร้าน ที่น่าสนใจข้าวที่นี่รสชาตือร่อยแต่จะติดแข็งๆหน่อย ที่สำคัญจะมีข้าวคลุกกับหญ้าฝรั่น(สีเหลืองบนข้าว) จัดเป็นเครื่องเทศและเครื่องยาที่สำคัญอย่างหนึ่ง มีการนำเข้าในประเทศไทยจากประเทศแถบอาหรับ (เช่น เปอร์เซีย) หรือชาวตะวันตก มาช้านาน
หญ้าฝรั่น ในภาษาอาหรับเรียก ซะฟะรัน เป็นไม้ดอกสีม่วง เพาะพันธุ์ด้วยหัว อยู่ในตระกูลเดียวกับไอริส จึงมีเกสรข้างในสีเหลืองทอง เมื่อแห้ง ใช้เติมรสและกลิ่นในอาหาร และใช้เป็นสีย้อมได้ด้วย หญ้าฝรั่นมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัวและมีรสค่อนข้างขม ชาวตะวันออกและผู้คนแถบทะเลเมดิเตอเรเนียนนิยมใช้ในการปรุงรสและแต่งสีแต่งกลิ่นอาหารมาแต่ครั้งโบราณกาลหญ้าฝรั่นมีค่ามากกว่าทองคำเมื่อเทียบน้ำหนักกัน และยังคงเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงที่สุด ปัจจุบันนี้มีการปลูกหญ้าฝรั่นกันมากในสเปน ฝรั่งเศส ซิซิลี อิตาลี อิหร่าน และแคชเมียร์ จะมีการเก็บเกสรตัวเมียดอกละสามอัน นำไปวางแผ่ไว้ในถาด ย่างไฟที่ใช้ถ่านหินเป็น เชื้อเพลิง นำมาแต่งรสชาติและกลิ่นของอาหาร หญ้าฝรั่นแห้งที่ได้ 1 กิโลกรัม เท่ากับผลผลิต 120,000 – 160,000ดอก ดังนั้นจึงต้องเก็บเกสรตัวเมียจากดอกของหญ้าฝรั่นด้วยมือจำนวนมากถึงจะได้ ปริมาณตามที่ต้องการ ทำให้หญ้าฝรั่นจัดเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงที่สุดในโลกในบรรดาเครื่องเทศทั้งหลาย ซึ่งโดยเฉลี่ยขายปลีกกันประมาณกิโลกรัมละ 100,000 บาท ทำให้ในปัจจุบันมีการเอาดอกคำฝอย ซึ่งมีลักษณะที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกันมากกับหญ้าฝรั่นแต่มีราคาที่ถูกกว่ามากมาผสมปนอยู่ด้วยในเวลาที่ขายในร้านขายเครื่องเทศและสมุนไพรต่างๆ พึ่งได้รู้ว่ากินของแพงอยู่ทุกมื้อ แต่อาหารหลังของคาราวานส่วนมากจะเป็นไข่ต้มกับน้ำพริกต่างๆ ที่เตรียมมาจากไทย
หลังจากเติมพลังเต็มที่กันเตรียมเดินทางยาวๆกว่าอีก 700 กิโลเมตร ซึ่งได้รับแจ้งการหัวขบวนว่าได้รับการติดต่อจากตำรวจว่ามีความเป็นห่วงคาราวานของเรามาก ถ้าภายในสามทุ่มคาราวานของเราไปไม่ถึงเมือง yazd เขาจะต้องเอาเฮลิคอปเตอร์ออกมาตามขบวนเรา พวกเราต่างสงสัยว่าเพราะอะไร หรือมันมีอะไรที่อันตรายแล้วเราไม่ทราบ แต่ทุกคนก็ไม่กังวลอะไรมากนัก รีบเดินทางกันต่อ ซึ่งเหมือนกับว่าทุกด่านตรวจที่เราผ่านจะเป็นเหมือนการเช็คพอยส์กันในหน่วยงานของตำรวจ วิวทิวทัศน์เริ่มแปลกตา ภูเขาส่วนใหญ่ของอิหร่านส่วนมากจะเป็นเขาหินอ่อน เพราะเราจะพบเหมืองหินอ่อนตลอดระยะ และบางทีเจอพายุทะเลทรายขึ้นเป็นงวงช้างหลายสิบอันตามริมทาง บางทีก็มีวิ่งผ่านถนนให้เห็นเป็นระยะ อันนี้ถือเป็น unseen ที่คงไม่ได้มีโอกาสเห็นได้บ้านเราแน่ๆ ด้วยระยะทางที่ไกลมากกับแสงตะวันที่เหลือไม่นาน ทางทีมจึงตัดสินใจที่จะใช้ความเร็วเพิ่ม เพราะถ้าต้องไปขับเร็วตอนมืด สู้ขับเร็วตอนนี้ดีกว่า หัวขบวนเริ่มยืดกับความเร็วที่ไต่ขึ้นจาก 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดันขึ้นไปจนแตะ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และถูกแช่ไว้ต่อเนื่องนานสองชั่วโมง แต่เส้นทางที่เราวิ่งแทบไม่มีรถเลยซักคันและเป็นทางตรงๆ นี่เป็นการพิศูจน์อีกครั้งของโตโยต้ารีโว่ทั้งเครื่องยนต์และข่วงล่างที่ต้องรับภาระอย่างเต็มๆ ด้วยช่วงล่าง DCS – Dynamic Control Suspension ที่มาพร้อมระบบกันสะเทือนใหม่ ที่ให้สมรรถนะสูงสุดเช่นเดียวกับรถ SUV หรูๆ เและมี Firm Platform โครงสร้างแชสซีส์ใหม่ใหญ่ขึ้น 20 มม.ทำให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น สามารถดูดซับแรงสั่นสะเทือนได้ดีวิ่งผ่านหลุมบ่อ และฐานล้อที่ช่วยเพิ่มความมั่นคง ที่ตอบสนองต่อทางขรุขระได้อย่างนุ่มนวลไม่แข็งกระด้างเหมือนรุ่นก่อน บางช่วงอาจจะเจอกับถนนที่ขุรขระ ก็รูดไปได้ด้วยความเร็วค่อนข้างสูง นิ่งสนิท
ในช่วงทางเรียบและโค้งกว้างๆ ใช้ความเร็ว 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็ยังเข้าได้อย่างมั่นใจแม้ตัวรถจะเริ่มเอียงบ้าง แต่ยังไม่ออกอาการว่าจะเสียการทรงตัว พอเริ่มสิ้นแสงอาทิตย์ขบวนก็กลับมาใช้ความเร็วเพียง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้นเพียงความปลอดภัย ระหว่างทางก็จะมีป้ายให้ระวังอูฐป่า หรือสัตว์ต่างๆ ตลอดแนว และไฮเวย์ที่นี่ไม่มีไฟถนน คงต้องพึ่งระบบไฟหน้าแบบ LED โปรเจคเตอร์ พร้อมไฟ Daytime Running Light แบบ LED ของรีโว่ช่วยให้ขับขี่ในเวลากลางคืน บนถนนที่มืดสนิทแบบนี้ได้น่าประทับใจ ทำให้วันนั้นเราสามารถถึงเมือง Yazd ภายในสามทุ่มพอดีๆ นับเป็นอีกวันที่ใช้ทั้งสมรรถนะของรถและคนอย่างหนักหน่วง โดยที่พักคืนนี้ของเราเป็นวังเก่าอายุกว่าสองร้อยปี เราเข้ามาจอดรถในบริเวณโรงแรมที่ให้อารมณ์เหมือนอยู่ในป้อมปราการ แต่กลางคืนก็มีความน่ากลัวเล็กน้อยของบรรยากาศและกลิ่นอายที่เราไม่คุ้นเคยนัก
วันที่แปด รุ่งอรุณวันใหม่ทำให้เราเห็นภาพได้ชันเจนขึ้นโรงแรมเมื่อคืนกลับมีชีวิตชีวา มีความเก๋ไก๋ด้วยทางน้ำบาดาลไหลผ่านกลางโรงแรมน้ำใสไหลเย็น การก่อสร้างมีความสวยงามและเก็บเค้าโครงเดิมไว้เหมือนเช่นอดีต โดยโรงแรมเป็นโรงแรมห้าดาวของที่นี่ที่ยังเก็บกลิ่นอายเปอร์เซียในอดีตเอาไว้ เรายังคงอยู่ในประเทศอิหร่าน วันนี้เราไม่รีบเร่งเหมือนกับวันก่อนๆ เพราะเราเดินทางกันแค่ 440 กิโลเมตร จากเมือง Yazd ไปเมือง Shiaz เส้นทางเริ่มมีความคล้ายคลึงเช่นทุกๆ วันแต่พอเริ่มเข้าไปที่เมือง Shiaz เราเริ่มเห็นทุกข้าวบาเล่ย์เหลืองชะอุ่ม ต้นไม้ใหญ่สีเขียวเริ่มเห็นมากขึ้นทำให้รู้ว่าเมืองนี้ค่อนข้างมีความอุดมสมบูรณ์มาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ถูกตั้งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรเปอร์เซียสมัยก่อน
ถ้านึกไม่ออกก็ให้นึกถึงกองทัพที่มาตีสปาต้าในภาพยนตร์เรื่อง 300 นั่นเอง ซึ่งก็คืออาณาจักร แพร์ซโพลิส ( Persepolis ) เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเปอร์เซียโบราณในยุคราชวงศ์อาร์เคเมนิด ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองชีราซ จังหวัดฟาร์ส เมืองสำคัญทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอิหร่าน ยูเนสโกได้ประกาศให้แพร์ซโพลิสเป็นหนึ่งในมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อ พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) เมืองแห่งนี้มีอายุกว่า2500 ปีก่อนยุคกรีซเสียอีก และยังได้ถูกจัดให้เป็น1ใน10 ของสิ่งมหัศจรรย์ของโลกล่าสุด ด้วยความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรที่ปกครองมากกว่า23กลุ่มชนชาติ ตามภาพแกะสลักบนกำแพงที่ยังหลงเหลืออยู่ ซึ่งเป็นภาพแกะสลักพื้นผิวนูนที่มีความปราณีตมากโดยไกด์อิหร่าน ชื่อฮาบัด ผู้ที่สามารถเคลียรเรื่องทุกอย่างได้ไม่ว่าจะเป็นตำรวจยันร้านค้า บอกว่า มีนักแกะสลักจากต่างชาติ มายืนจ่องภาพแกะคู่ซึ่งเป็นเรื่องราวส่วนหนึ่งบนกำแพงอยู่ถึง4ชั่วโมงและกล่าวว่าเขาอาจจะต้องใช้เวลาแกะสลักนานถึง 40 ปี เพราะมีการเก็บรายละเอียดต่างๆแม้กระทั่งการกำขนแกะและเส้นขนแกะก็ยังมีรายละเอียดที่
ซับซ้อน นอกจากนี้ยังมีภาพที่โดดเด่นซึ่งจะเห็นถ้าพูดถึงงานภาพแกะสลักเปอร์เซียในอิหร่านรูปภาพเสือกัดวัวที่เป็นเหมือนเอกลักษณ์ของเปอร์เซีย นั่นมาจากแรงบันดาลใจของผู้แกะที่มีต่อกลุ่มดาวต่างๆบนฟ้าจนออกมาเป็นรูปนี้ และในทุกวัฒนธรรมศิลปมักมีอาราณ์ขันหรือเสียดสีผสมผสานอยู่ในงานที่เขาทำ เช่นเดียวกับที่นี่ ในสังคมสมัยก่อนผู้หญิงจะไม่มีบทบาทที่นี่ทำให้เราเห็นแต่รูปผู้ชายทั้งหมดแต่ช่างแกะสลักในยุคนั้นก็มีการเอารูปผู้หญิงเพียงคนเดียว แอบลงไปบนผลงานด้วย. ซึ่งจะเป็นรูปเล็กกลางกงล้อเกวียนนับเป็นอีกมุมที่น่าสนใจ ดื่มด่ำกับความยิ่งใหญ่ของนครโบราณแห่งนี้ที่น้อยคนนักจะมีโอกาสมาสัมผัสเก็บรูปถ่ายไว้เป็นที่ระลึกเพราะคงยากนัก
ที่จะมีโอกาสได้มาเยืยนอีกเราเดินทางเข้าเมือง Shiaz ซึ่งการออกแบบแผนถังถนนอยู่ในขั้นวงกตวงเวียนที่ต้องวนซ้ำวนซาก แถมยังจะต้องเจอกับกับขับขี่ระดับจรวดขีปนาวุธที่บาดแซงแบบไม่กลัวจะชนมีรูกว้างเกินเมตรพี่พร้อมเสียบ ถ้าเป็นเมืองไทยอาจจะต้องมีเรื่องทะเลาะกันแน่ๆ แต่ในความวุ่นวายเราก็ไม่เห็นว่าจะมีใครเกิดชนกัน แต่รถส่วนมากจะมีร่องรอยการเฉี่ยวชนน้อยมากเสียส่วนใหญ่ ก่อนแวะทานข้าว ไกด์พามาร้านของฝากสุดไฮโซที่ราคาก็ไฮโซตามหน้าตา กับอาณาจักรถั่วและผลไม้แห้งของอิหร่าน
แต่ถ้าใครมาอย่าเข้านะ. เพราะมันแพงระดับทำร้ายล้าง แถมโกงด้วย. อินทผลัมซื้อเมืองไกลๆโลละ70. ที่นี่โลละ700บาท เหมือนกันทุกอย่าง มีน้องคนนึงซื้อช็อกโกแลตกระเบื้องคุยว่าโลสิบเหรียญจะจ่ายตังคิดเป็น25เหรียญ หลังจากนั้นก็ไปทานมื้อค่ำถูกปากอย่างแรง เพราะเป็นอาหารแบบอิตาเลียนพวกพิสซ่า สปาก็ตตี้ ก่อนเข้าพักโรงแรม ซึ่งเราใกล้ถึงจุดหมายเมืองหลวง Tehran ของอิหร่านเข้าทุกที
วันที่เก้าเราตื่นมาอย่างสดใสและเช่นเคยจราจรที่วุ่นวายหายไปกลับมาเงียบสงบในช่วงเช้า ก่อนออกจากเมือง Shiaz มุ่งหน้าต่อไปยังเมือง Esfahan อีกประมาณ 480 กิโลเมตร เราได้มีโอกาสถ่ายรูปกับประตูเมืองโบราณที่ยังคงอยู่ซึ่งก็มีการตกแต่งในแบบเปอร์เซียมีการใช้หินอ่อนและงานกระเบื้องสีที่มีลวดลายสวยงาม เส้นทางวันนี้จะเป็นทะเลทราย ถนนตรงๆ ยาวๆ มีทิวเขาไกลอยู่สองข้างทาง แถมผู้คนชาวอิหร่านก็มีอัธยาศัยดี แวะทักทายเราตลอดเวลาเช่นเคย รอยยิ้มและการโบกมือทักทายคือสิ่งที่เราได้พบตลอดทางที่เราเดินทางมา ขับผ่านมาได้ประมาณ 280 กิโลเมตร ได้เวลาทานข้าวแต่ปัญหาคือมีแต่ทะเลทราย โชคดีที่ด่านใหญ่มีโอเอซิสทั้งปั๊มน้ำมันและร้านข้าว และเหมือนจะโชคดียิ่งขึ้นมื้อนี้มีไก่ให้ทาน หลังจากต้องกินแกะย่างมาเกือบทุกมื้อ คิดถึงอาหารไทยมากมาย ณ จุด จุดนี้ แถมส่วนตัวคิดว่ายิ่งเข้าเมืองหลวงมากเท่าไรเนื้อแกะย่างจะมีกลิ่นที่แรงมากขึ้นเท่านั้น
อากาศในตอนนี้อยู่ที่ 37-39 องศา ตามหน้าปัดที่โชว์อยู่ แต่โชคดีที่รีโว่มีแอร์ที่เย็นฉ่ำ แถมมีแอร์ในแถวหลัง เคยมีคนท้องถิ่นเข้ามาทักทายพอเข้ายืนมือมาจับมือผมโดยผ่านกระจกเพื่อทักทาย เขาค่อนข้างตกใจที่แอร์รถเราเย็นมาก เขาถึงสถบโดยจับประเด็นได้ว่ารถบ้านเขาแอร์ไม่ค่อยเย็น ซึ่งถ้าสังเกตุรถที่นี่จะเปิดหน้าต่างขับกันเสียส่วนมาก ถึงแม้ที่อิหร่านจะขับรถไม่ค่อยเป็นระเบียบนัก แต่กฎหมายที่อิหร่านเขาห้ามขับรถความเร็วเกิน 120 กม./ชม. ตำรวจที่นี่ค่อนข้างจริงจังกับเรื่องนี้มาก มีการตั้งกล้องตรวจจับความเร็วตลอดเส้นทาง เป็นอีกครั้งที่เราใช้ระบบครูซ คอนโทรล มาช่วยในการคุมความเร็วไว้ 120 กม./ชม. และปรับขึ้นลงตามคันหน้าเพียงนิ้วสัมผัส แต่ถ้าคุณเบรกระบบจะปลดออกโดยอัตโนมัติ และแล้วก็เข้าเขตเมือง Esfahan สภาพบ้านเรือนและเมืองดูผิดหูผิดตาจากเมืองที่ผ่านมาเมืองนี้ดูจะมีกลิ่นอายของยุโรปผสมอยู่เล็กๆ แถวระแวกที่พักของเราเหมือนอยู่ชนบทแถวยุโรปมากๆ วันนี้เรามาถึงที่หมายเร็ว ท้องฟ้ายังไม่มืดเลย จึงออกไปเดินเล่นกันซะหน่อยบ้านเมืองดูสะอาดตามากๆ แต่ร้านค้าส่วนมากปิดเกือบหมด เมืองนี้เป็นเมืองที่มั่งคั่งเป็นศูนย์กลางการค้าขาย หัตถกรรม อุตสาหกรรม ศูนย์กลางของวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม วรรณกรรม โดยเฉพาะการประดิษฐ์อักษรภาพอิสลามอันวิจิตรสวยงามแบบเปอร์เซีย เราเดินชมเมืองมาเรื่อยๆ จนมาถึงจตุรัส Esfahan ซึ่งนับเป็นจตุรัสที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจากจตุรัสเทียนฮันเหมิน ใหญ่กว่าจัตุรัสแดงในกรุงมอสโคว์ 2 เท่า ที่ในอดีตเคยเป็นสนามแข่งโปโล ในปัจจุบันมีร้านค้า ร้านอาหารมากมาย คนในเมืองนำอาหารมานักปิกนิคกัน บางก็พอลูกๆมาวิ่งเล่น ทำกิจกรรมครอบครัวกัน พอยิ่งมืดพื้นที่ต่างถูกจับจองเต็มเกือบหมด เช่นเดิมพวกเราที่ดูแตกต่างได้รับความสนใจจากคนเช่นนั้น เราได้รับการทักทายเป็นระยะ ซึ่งเป็นอีกมนต์สเน่ห์ของคนที่นี่ ก่อนจะเดินกลับไปพักที่โรงแรม เราแวะร้านขายชองระหว่างทาง เราสามารถหาซื้ออินทผลัมได้ตามร้านขายของทั่วไป ซึ่งมีทั้งแบบสดและแบบเชื่อม โดยที่นี่ขายของเป็นกิโลกรัม ไม่ว่าจะใส่กล่องมายังไงเขาก้จะคิดราคาจากน้ำหนักในการช่าง ก็ช็อปกันไปอีกครั้งเหลืออีกสองวันก็จะจบถึงเวลาส่งต่อรถให้ทีมสี่
วันที่สิบเราเดินทาง 430 กิโลเมตรจาก EsFahan ไปยัง เมืองหลวงกรุง Tehran โดยโรงแรมเมื่อคืนที่เราพักกันทางลงไปที่จอดรถถือว่าแคบมากๆ แต่วงเลี้ยวของรถที่ค่อนข้างแคบก็ช่วยลดปัญหาในการเลี้ยวไม่พอ ช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลาแก้นานนักก็สามารถพาขบวนขึ้นมาพร้อมไปกันต่อ ก่อนออกนอกเมืองเราขับรถข้ามสะพานคาจู และชมสะพานซิโอเซโปล ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำซายันเดห์ซึ่งแห้งไม่มีน้ำเลยตอนที่เราข้าม แต่สะพานมันช่างสวยงามสร้างได้อย่างวิจิตรบรรจงนอกจากนี้สะพานคาจูยังได้รับการโหวตให้เป็นสะพานที่สวยติดอันดับ 1 ใน 10 สะพานที่สวยที่สุดในโลก ออกมานอกเมืองเข้าสู่ถนนไฮเวย์ทางตรงยาวๆสภาพถนนค่อนข้างดีที่เดียวครับวิ่งมาได้ประมาณ 180 กิโลเมตรเราจะไปเที่ยวกันก่อนเพื่อรอเวลาเข้าเมือง เพราะกรุง Tehran รถยนต์ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศสามารถเข้าไปในเมืองได้หลัง 6 โมงเย็นเท่านั้น เราจึงออกไปหาที่เที่ยวดีกว่าไปติดรอทางเข้าเมือง เราวิ่งแยกออกมาจากทางหลักอีกประมาณ 50 กิโลเมตร มุ่งหน้าสู่ Abyaneh Village (อาบียาเนห์) เส้นทางไปบางช่วงต้องขึ้น – ลงเขา แถบยังอยู่ติดกับเขตทหาร ปืนต่อสู้อากาศยานตั้งตะง่านอยู่หลายจุด เส้นทางเป็นสองเลนสวน และมีโค้งมากอยู่พอสมควร รีโวยังคงทำหน้าที่ของมันได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นเคยไม่ให้เราต้องผิดหวัง พวงมาลัยเฉียบคมที่ตอบสนองได้ดังนึก ช่วงล่างที่ผ่านศึกมาอย่างหนักหน่วงก็คงยังทำงานได้เต็มสมรรถนะกว่าหมื่นกิโลเมตร เราใช้เวลาอยู่คู่ใหญ่ ก็มาถึง
อาบียาเนห์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่ใช้อิฐดินฟางดิบเป็นวัสดุในการสร้างบ้าน และยังคงสภาพเดิมกว่า 2,500 ปี สร้างอยู่บนเนินเขาคาร์คาส ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 3,890 เมตร ซึ่งเมื่อเราไปถึงก็สวยสมคำล่ำลือครับ เดินลัดเลาะชมความงามของหมู่บ้าน ผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเกือบทั้งหมด เท่าที่ดูเกิน หกสิบขึ้นไปแน่นอน
ซึ่งก็จะมีร้านขายของที่ระลึกอยู่หลายแห่งที่ขายผ้าพันคอและผ้าโพกหัวและของที่ระลึกแต่ละร้านจะมีของคล้ายๆกัน แต่ราคาจะไม่เท่ากันที่สำคัญต่อไม่ได้เท่าไรเท่านั้น ซึ่งเราพยายามต่อแต่ไม่ได้ลดเสียบาท แม้จะซื้อในปริมาณมากๆ ก็ตาม การออกแบบของบ้านทรงกล่องที่มากมายหลายร้อยหลัง แต่ก็มีหลายๆหลังที่พังเสียหาย สีสันของตัวบ้านเป็นโทนเดียวกันทั้งหมด เราเห็นคนหนุ่มสาวที่เข้ามเที่ยวที่เป็นคนท้องถิ่นพอสมควร ซึ่งผู้หญิงอิหร่านหน้าตาสวยมาก และเท่าที่เคยได้ยินมาในเรื่องการแต่งตัว ซึ่งสาวรุ่นใหม่เริ่มแต่งตัวมากขึ้น ถ้าทำสีผมก็จะเปิดผ้าคุมมากยิ่งขึ้นเพื่อให้เห็นว่ามีการทำสีผม นอกจากนี้รองเท้ายังเป็นตัวชี้วัดแฟชั่นให้กับสาวๆที่นี่อีกด้วย
ส่วนเรื่องการถ่ายรูปหญิงสาว ว่าที่อิหร่านห้ามถ่ายรูปผู้หญฺงเด็ดขาด แต่เท่าที่เห็นผู้หญิงรุ่นใหม่สามารถถ่ายรูปได้ถ้าพ่อหรือสามีอนุญาติ เพราะมีภรรยายชาวอิหร่านที่หน้าตาสะสวยมาขอถ่ายรูปกับพวกเราหลายท่าน แต่คนแก่ๆ นั่นจะไม่ให้ถ่ายรูปเด็ดขาด เราออกมาจากทางเขากลับมาขึ้นไฮเวย์มุ่งหน้าสู่เมืองหลวงกันถนนช่วงนี้ดีมากยิ่งใกล้เมืองหลวงถนนหนทางนี่เรียบราวสายไหม เราใช้ความเร็วประมาณ 120 กิโลเมตรตลอดทาง ไม่นานนักก็เข้าสู่ Tehran เมืองหลวงของอิหร่านจุดหมายสุดท้ายของทีมเรา พอเข้ามาเราก็จะมาพบกับการขับขี่รถของคนอิหร่าน
ที่ทำให้การขับรถของในจีน หรือประเทศเพื่อนบ้านเราดูเด็กไปเลย เพราะที่นี่คือ…สงคราม รถที่นี่ทุกคันพร้อมพลีชีพ พร้อมเข้าแทรกทุกเสี้ยววินาที คือถ้าไม่เบรคให้ชน100เปอร์เซ็นต์ ช่องว่าง1 เมตรก็สามารถเบียดได้ทันที. ไฟเขียวไฟแดงไม่มีผลกับคนเดินถนนที่นี่ เพราะพร้อมเดินตัดหน้าได้ทุกวินาที วงเวียนที่วกวนที่รถทุกแยกพร้อมวิ่งตัดผ่านกันไปมา จนถึงท้ายก็ถึงโรงแรมใจกลางเมืองที่หมายสุดท้ายของทีม Stage3 ซึ่งส่งต่อกุญแจรถและรถยนต์ให้สภาพสมบูรณ์ให้แก่ทีม Stage4 เพื่อนำรีโว่ไปยังจุดหมายที่ กรุงเวนิช ประเทศอิตาลี โดยทีม Stage4 มารอทีมเราอยู่ก่อนแล้ว นับเป็นทีมที่ดวงดีและแคล้วคลาดมากเพราะหลังออกจากสนามบินในอิสตันบูล ตุรกีได้ไม่ถึงสามชั่วโมง สนามบินก็โดนระเบิดพลีชีพ ของไว้อาลัยสำหรับผู้ที่เสียชีวิตที่สนามบินอิสตัสบูลด้วยครับ
วันที่สิบเอ็ด พวกเราทีม Stage3 มารอส่งทีม Stage4 เดินทางต่อเพื่อพิสูจน์สมรรถนะของเจ้ารีโวต่อไปจนถึงปลายทางที่อิตาลี โดนวันนี้เป็นวันฟรีเดย์ของพวกเราเพราะกว่าเครื่องจะบินก็ค่ำๆ ก่อนที่จะเดินทางออกไปเที่ยวกันในเมือง Tehran โดยรถบัสเพื่อช็อปปิ้งกันที่ตลาดที่เก่าแก่ที่สุดในTehran ตลาดใหญ่ที่มีขายทุกๆสิ่ง ตั้งแต่ขนม ของแห้งและผลไม้ อย่างเช่นเชอรี่ที่บ้านเราขายโลละ ห้าร้อยบาทไทย แต่ที่นี่ขายโลละร้อยบาทไทยเท่านั่น แถมรสชาติอร่อยมาก นอกจากของกินยังมีของใช้แฟชั่นรองเท้าก็อปของก็อปแบรนด์เนมมากมายซึ่งถ้าซื้อไปปลอมแท้ๆ แน่นอน จากนั้นเราออกเดินทางไปยังเมืองเล็กใกล้ๆสนามบิน เพื่อรับประทานอาหารเย็นกัน ในป้อมปราการโบราณซื้อดัดแปลงมาเป็นร้านค้าและร้านอาหาร เป็นมื้อสุดท้ายที่อิหร่านซึ่งก็ยังมีเนื้อแกะเป็นจานหลักเช่นเคย ก่อนมุ่งสู่สนามบินเพื่อเตรียมกลับสู่ประเทศไทย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอาหารมื้อสุดท้ายบนเครื่องบินที่พาเรากับสู่ไทย เนื้อแกะก็ยังมาตามมาหลอกหลอนกันอีก ทำให้เกลียดการทานเนื้อแกะไปอีกนาน
การเดินทางครั้งนี้นับเป็นโชคดีที่ได้ร่วมคาราวานประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่คงไม่มีใครกล้าจัดอีกแล้ว แม้จะไม่ได้อยู่ตลอด 45 วันทั้งทริป แต่แค่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางทริปนี้ก็คุ้มแล้ว มันมีหลายๆ สิ่งที่เราได้มีโอกาสเห็น เราได้เปิดสายตามองโลกในอีกมุมที่เราไม่คิด หรือเชื่อในสิ่งที่เขาเล่ามา ทำให้รู้ว่าโลกมันกว้างใหญ่ยิ่งนักและรอยยิ้มมักสวยงามเสมอ… สุดท้ายขอขอบคุณทางบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยและทีมประชาสัมพันธ์ทีให้เกียรติเชิญทีมทอร์คในครั้งนี้ และดูแลเป็นอย่างดีตลอดการเดินทาง
[banner id=”342″ caption_position=”bottom” theme=”default_style” height=”auto” width=”auto” show_caption=”1″ show_cta_button=”1″ use_image_tag=”1″]