คนส่วนใหญ่ทราบดีว่าการขับรถในเวลากลางคืนบนท้องถนนที่มีแสงไฟสลัวนั้นอันตราย แต่ก็มียังผู้ขับขี่จำนวนมากโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและนักขับมือใหม่ประสบอุบัติเหตุจากการขับรถตอนกลางคืน รายงานบางฉบับเผยว่า
อุบัติเหตุดังกล่าวมีสาเหตุมาจากความเหนื่อยล้า การขาดประสบการณ์การขับขี่ตอนกลางคืนและสมรรถภาพการตอบสนองที่ลดลง ไปจนถึงความสามารถในการปรับสภาวะสายตาจากแสงไฟสะท้อนที่สาดเข้ามา1
สถิติจากสมาคมความปลอดภัยบนถนนทางของหลวงของสหรัฐอเมริกา (Governors Highway Safety Association)2 ระบุว่าผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อยหรือที่เป็นมือใหม่มีแนวโน้มที่จะประสบอุบัติเหตุจากการขับขี่ที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตในช่วงเวลาระหว่าง 21.00 น. ถึงเที่ยงคืนมากกว่าช่วงกลางวันถึง 3 เท่า
ขณะที่ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนน (ThaiRSC)3 ในประเทศไทยชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างด้านอายุของผู้ขับขี่ที่มีแนวโน้มจะประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนในเวลากลางคืน โดยพบข้อมูลผู้เสียชีวิตสะสมจากอุบัติเหตุบนท้องถนนของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2566 ว่าผู้ขับขี่ช่วงอายุระหว่าง 35-60 ปี
มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติบนท้องถนนสูงสุด ตามด้วยผู้ขับขี่ในช่วงอายุ 25-35 ปี โดยช่วงเวลา 20.00 น. เป็นเวลาที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุด ย้ำให้เห็นถึงอันตรายของการใช้รถและถนนในประเทศไทยในช่วงเวลากลางคืน
ในปีนี้ ฟอร์ด ประเทศไทย ยังคงมุ่งมั่นให้ความสำคัญด้านการขับขี่อย่างปลอดภัยบนท้องถนนและได้สานต่อโครงการ ‘ฉลาดขับ ประหยัด ปลอดภัย’ หรือ Ford Driving Skills For Life (DSFL) เป็นปีที่ 16 พร้อมสนับสนุนให้ผู้ขับขี่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดความเสี่ยงจากการขับขี่ตอนกลางคืน
โดยโครงการ Driving Skills For Life (DSFL) เป็นโครงการเพื่อสังคมภายใต้การสนับสนุนของฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ซึ่งจัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดหลักสูตรฝึกอบรมทักษะการขับขี่โดยที่ผู้เข้าอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ นับตั้งแต่ริเริ่มโครงการดังกล่าวมีผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมและเรียนรู้ทักษะการขับขี่อย่างปลอดภัยมาแล้วกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก
สำหรับเคล็ดลับการขับขี่อย่างปลอดภัยในเวลากลางคืนจากฟอร์ด มีดังนี้
เช็ดกระจกหน้ารถด้านในให้สะอาด
คนส่วนใหญ่คิดว่าสิ่งสกปรกบนกระจกหน้ารถเกิดขึ้นแค่ด้านนอกรถเท่านั้น จึงมักเลือกทำความสะอาดกระจกรถเฉพาะด้านนอก แต่รอยนิ้วมือและฝ้าที่ก่อตัวขึ้นด้านในรถก็มีส่วนทำให้ทัศนวิสัยในการขับขี่ลดลงได้เช่นกัน แสงจากภายนอกที่ส่องเข้ามาอาจกระทบรอยเปื้อนเหล่านี้และทำให้เกิดความพร่ามัว
ดังนั้นจึงควรเตรียมผ้าไมโครไฟเบอร์ไว้ใกล้มือเพื่อใช้ทำความสะอาดกระจกหน้ารถได้อยู่เสมอ
เลือกใช้ไฟหน้าให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมในการขับขี่
หากคุณขับรถในขณะที่มีหมอกลง ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเปิดใช้งานไฟตัดหมอกไว้แล้ว เนื่องจากไฟตัดหมอกออกแบบมาสำหรับใช้งานในสภาพอากาศเลวร้ายที่กระทบทัศนวิสัยการขับขี่ หลักการทำงานของไฟตัดหมอกคือการสาดลำแสงไปยังด้านหน้ารถเพื่อตัดทะลุหมอก
ต่างจากการเปิดไฟหน้าปกติที่สาดแสงกระจายไปยังกลุ่มหมอกและอาจสะท้อนกลับสู่สายตาของผู้ขับขี่ เราไม่แนะนำให้เปิดไฟสูงเนื่องจากจะทำให้หมอกสว่างจ้าจนอาจมองไม่เห็นท้องถนน คุณมองหาสวิตช์เพื่อเปิดใช้งานไฟตัดหมอกได้บริเวณสวิตช์แผงควบคุมไฟ และควรเปิดใช้งานไฟตัดหมอกเฉพาะในขณะที่ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลงเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังไม่แนะนำให้ใช้ไฟวิ่งกลางวันแทนไฟตัดหมอก เพราะไฟวิ่งกลางวันออกแบบมาเพื่อช่วยให้รถคันอื่นมองเห็นรถของคุณได้ชัดเจนยิ่งขึ้นขณะขับขี่ระหว่างวันเท่านั้น แต่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อทดแทนการทำงานของไฟตัดหมอก
อย่ามองไปที่แสงโดยตรง
ขณะขับรถตอนกลางคืน สายตาของเราจะปรับให้ชินกับความสลัวภายในห้องโดยสารและถนนด้านหน้าโดยอัตโนมัติ ดังนั้นเมื่อมีแสงสว่างจ้ากะทันหัน เช่น จากไฟหน้าของรถที่ขับสวนมา สายตาของเราจะไม่สามารถปรับสภาพและสู้แสงนั้นได้ทันทีในเวลากลางคืน
ทั้งยังลดความสามารถในการมองเห็น ส่งผลถึงความอันตรายที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย1 คุณหลีกเลี่ยงอาการสายตาพร่ามัวได้ง่ายๆ โดยเลี่ยงการจ้องมองแสงตรงๆ เพื่อช่วยปกป้องทัศนวิสัยการมองเห็นของคุณในเวลากลางคืน
ระวังสัตว์บนท้องถนน
สัตว์หลายประเภทออกหากินเวลากลางคืน ด้วยสภาพแวดล้อมที่มืดอาจทำให้สังเกตเห็นได้ยากขึ้น บางครั้ง ไฟหน้าก็อาจเป็นสิ่งดึงดูดให้สัตว์บางชนิดวิ่งเข้าหารถ คุณจึงต้องระมัดระวังในการขับขี่มากขึ้น หากคุณทราบว่าพื้นที่นั้นๆ มีสัตว์ใดบ้างที่ควรระวัง
จะช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณมองเห็นสัตว์ข้างทางได้ไวขึ้น และชะลอความเร็วรถเพื่อหลีกเลี่ยงการชนได้อย่างปลอดภัย อีกข้อสังเกตง่ายๆ คือไฟรถจะสะท้อนดวงตาของสัตว์เหล่านี้ก่อนที่คุณจะเห็นสัตว์ทั้งตัว ซึ่งจะช่วยให้คุณเพิ่มความระวังได้มากขึ้น
นอกจากนี้ อีกสิ่งที่ควรทำขณะขับรถคือมองถนนให้ไกลที่สุดเท่าที่ทัศนวิสัยและสภาวะแวดล้อมจะเอื้ออำนวย ยิ่งคุณคาดการณ์อันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ในระยะไกลเท่าไร ก็ยิ่งช่วยให้คุณมีเวลาเตรียมตัวควบคุมการขับขี่ได้ดีขึ้นเท่านั้น
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระยะส่องสว่าง
โดยปกติแล้วไฟต่ำจะส่องสว่างได้ไกลราว 70 เมตร ขณะที่ไฟสูงจะส่องสว่างได้ไกลราว 200 เมตร ระบบไฟหน้าแบบเมทริกซ์ แอลอีดี ในรถฟอร์ด เรนเจอร์ ฟอร์ด เรนเจอร์ แร็พเตอร์ และฟอร์ด เอเวอเรสต์ มาพร้อมระบบไฟสูงแบบป้องกันไฟแยงตา (Glare-Free High Beam)
โดยเมื่ออยู่ในสภาวะปกติจะส่องแสงสว่างโดยใช้หลอดไฟ LED หลายดวง จึงสามารถเพิ่มแสงสว่างให้กับท้องถนนและช่วยให้มองเห็นอันตรายต่างๆ ได้ดีขึ้น
ไฟหน้าแบบเมทริกซ์ แอลอีดีมาพร้อมระบบป้องกันไฟแยงตา (Glare-Free High Beam)
ระบบไฟหน้าแบบเมทริกซ์ แอลอีดีมาพร้อมระบบไฟสูงแบบป้องกันไฟแยงตา (Glare-Free High Beam) ในรถฟอร์ด เรนเจอร์ และฟอร์ด เอเวอเรสต์ โดยทำงานร่วมกับกล้องหน้ารถเพื่อตรวจจับแสงสว่างของไฟหน้าและไฟท้ายของรถคันอื่นได้ไกลถึง 800 เมตร
เมื่อระบบตรวจพบรถคันอื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ขับรถสวนมาหรือรถคันหน้า ไฟแอลอีดี จะถูกหรี่ลงเฉพาะบริเวณหน้าหรือท้ายรถคันนั้น เพื่อไม่ให้แสงไฟรบกวนผู้ใช้ถนนรายอื่นจากไฟสูงแยงตา
นั่นหมายความว่า ไฟสูงจะยังคงทำงาน และมอบความสว่างให้กับพื้นที่โดยรอบ โดยไม่กระทบผู้ขับขี่รายอื่นบนท้องถนน
ระบบไฟสูงแบบป้องกันไฟแยงตา (Glare-Free High Beam) จะทำงานภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้
- เมื่อคุณขับรถด้วยความเร็วสูงกว่า 40 กม./ชม.
- เมื่อระบบตรวจไม่พบไฟหน้าหรือไฟท้ายของรถคันอื่นภายใน ‘ระยะการมองเห็น’
- เมื่อเปิดใช้งานไฟสูงแบบป้องกันไฟแยงตาผ่านระบบสั่งงานด้วยเสียง SYNC และเมื่ออยู่ในสภาพถนนที่มืดจนต้องใช้ไฟสูง
ถนนทุกสายไม่ได้เป็นเส้นตรง
ไฟหน้าระบบเมทริกซ์ แอลอีดีของรถฟอร์ดยังมาพร้อมเทคโนโลยี Dynamic Bending Lightsซึ่งทำงานเมื่อเปิดไฟต่ำ โดยใช้เซ็นเซอร์ในการตรวจวัดความเร็วและองศาการเลี้ยวของรถ เพื่อหมุนดวงไฟด้านหน้าไปตามทางโค้งได้สูงสุด 15 องศา ซึ่งเพียงพอที่จะส่องสว่างแม้บนทางโค้งหักศอก
นอกจากเทคโนโลยี Dynamic Bending Lights แล้ว รถฟอร์ด เรนเจอร์ เจเนอเรชันใหม่ ยังมาพร้อมไฟตัดหมอกแบบติดตามการเลี้ยวของพวงมาลัย (Static Cornering Lights) ที่จะทำงานในขณะที่รถกำลังเข้าโค้ง ช่วยเพิ่มความปลอดภัยเมื่อเลี้ยวรถในที่มืด
ระบบควบคุมไฟสูงอัตโนมัติ (Automatic High Beam Control)
ถ้ารถของคุณไม่ได้ติดตั้งไฟหน้าแบบเมทริกซ์ แอลอีดีที่มาพร้อมระบบ Glare-Free High Beam แต่มีระบบควบคุมไฟสูงอัตโนมัติ (Automatic High Beam Control) ระบบไฟในรถฟอร์ด เรนเจอร์
จะทำงานโดยใช้กล้องหน้ารถตรวจจับแสงสว่างไฟหน้าหรือไฟท้ายของรถคันอื่น และจะเปิดใช้ไฟสูงโดยอัตโนมัติเมื่ออยู่ในสภาวะที่จำเป็น
โครงการ ‘ฉลาดขับ ประหยัด ปลอดภัย’ หรือ Driving Skills For Life (DSFL)
โครงการ DSFL เป็นโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการขับขี่อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยหลักสูตรดังกล่าวได้รวบรวมเทคนิคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
การควบคุมรถขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน การควบคุมพวงมาลัย การเลี้ยวและเข้าโค้ง และการถอยจอด นอกจากนี้ ในปรเทศไทย ฟอร์ดยังได้นำชุดจำลองสภาวะมึนเมามาให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีโอกาสทดลองสัมผัสถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สำหรับปีนี้ โครงการ ‘ฉลาดขับ ประหยัด ปลอดภัย’ หรือ DSFL ในประเทศไทยจัดขึ้นเป็นปีที่ 16 ผู้ที่สนใจเข้าร่วมการอบรมสามารถติดตามข่าวสารของโครงการได้ทาง Facebook ของ ฟอร์ด ประเทศไทย
หมายเหตุ:
1ราชสมาคมแห่งลอนดอนในการป้องกันอุบัติเหตุ (The Royal Society for the Prevention of Accidents), มิถุนายน 2560, Driving at Night Factsheet, สืบค้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2566, จากเว็บไซต์: https://www.rospa.com/rospaweb/docs/advice-services/road-safety/drivers/driving-at-night.pdf
2สมาคม Governors Highway Safety Association ในสหรัฐอเมริกา, 1 พฤษภาคม 2556, Promoting Parent Involvement in Teen Driving, สืบค้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2566, จากเว็บไซต์: https://www.ghsa.org/sites/default/files/2016-11/TeenDrivingParentReport%20low.pdf
3ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนน, 2565, สถิติข้อมูลผู้เสียชีวิต สะสม ประเทศไทย ปี 2566, สืบต้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2566, จากเว็บไซต์ https://www.thairsc.com/