Breaking News

โตโยต้ารายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤษภาคม 2566 ด้วยยอดขาย 65,088 คัน เพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

TOYOTA

นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤษภาคม 2566 ด้วยยอดขาย 65,088 คัน เพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ตลาดรถยนต์นั่งเดินหน้าเป็นอย่างดี ด้วยยอดขาย 25,985 คัน เติบโตถึง 29.4% ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวต่อเนื่องด้วยตัวเลขการขาย 39,103 คัน ลดลง 12.4% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ชะลอตัวเช่นกันที่ 27,323  คัน ลดลง 19.2%  

ประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์

ตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2566 มีปริมาณการขายที่ 65,088 คัน เพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งเป็นเซกเมนต์สำคัญที่ผลักดันการเจริญเติบโตของตลาดรถยนต์เดือนนี้ที่ 29.4% ด้วยยอดขาย 25,985 คัน ในขณะที่รถเพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวต่อเนื่องที่ 12.4% ด้วยยอดขาย 39,103 คัน ในส่วนของตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ชะลอตัวเช่นกันที่ 19.2%

และยอดขาย 27,323 คัน เป็นผลมาจากการชะลอการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องของภาคธุรกิจ และภาคประชาชน เพื่อรอความชัดเจนทางด้านนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐ ในขณะที่ตลาดรถยนต์นั่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ECO Car มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเดินทางที่เป็นส่วนตัวของประชาชนภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด

ตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายน ยังมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง จากความผันผวนทางเศรษฐกิจที่ยังดำเนินต่อไป รวมทั้งความมั่นใจของผู้บริโภคที่ยังไม่ดีขึ้น ตลอดจนความเข้มงวดของสถาบันการเงินที่มีความกังวลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค อันส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการผ่อนชำระของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ที่ต้องการความคล่องตัวทางเศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤษภาคม 2566

ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย  65,088 คัน เพิ่มขึ้น 0.5%

  • อันดับที่ 1 โตโยต้า     21,296 คัน      ลดลง   4.0%    ส่วนแบ่งตลาด   32.7%
  • อันดับที่ 2 อีซูซุ          13,281 คัน       ลดลง   15.6%  ส่วนแบ่งตลาด   20.4%
  • อันดับที่ 3 ฮอนด้า      6,697 คัน       เพิ่มขึ้น 33.0%  ส่วนแบ่งตลาด 10.3%

ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 25,985 คัน เพิ่มขึ้น 29.4%         

  • อันดับที่ 1 โตโยต้า     8,266 คัน        เพิ่มขึ้น  43.2%  ส่วนแบ่งตลาด   31.8%
  • อันดับที่ 2 ฮอนด้า      4,415 คัน        เพิ่มขึ้น  38.4%  ส่วนแบ่งตลาด   17.0%
  • อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ      1,506 คัน       ลดลง   27.5 % ส่วนแบ่งตลาด  5.8%

ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 39,103 คัน ลดลง 12.4%  

  • อันดับที่ 1 อีซูซุ          13,281  คัน     ลดลง   15.6.% ส่วนแบ่งตลาด 34.0%
  • อันดับที่ 2 โตโยต้า    13,030 คัน     ลดลง   20.6%  ส่วนแบ่งตลาด 33.3%
  • อันดับที่ 3 ฟอร์ด        2,993 คัน      เพิ่มขึ้น  32.1%  ส่วนแบ่งตลาด  7.7%

ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)

ปริมาณการขาย 27,323 คัน ลดลง 19.2%  

  • อันดับที่ 1 อีซูซุ          12,131  คัน     ลดลง   14.5%  ส่วนแบ่งตลาด 44.4%
  • อันดับที่ 2 โตโยต้า    10,205 คัน    ลดลง   26.6%  ส่วนแบ่งตลาด 37.3%
  • อันดับที่ 3 ฟอร์ด         2,993 คัน    เพิ่มขึ้น  32.1%  ส่วนแบ่งตลาด  11.0%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,896 คัน

อีซูซุ 2,076 คัน – โตโยต้า 1,568 คัน -ฟอร์ด 707 คัน – มิตซูบิชิ 460 คัน – นิสสัน 85 คัน

ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 22,427 คัน ลดลง 23.3%      

  • อันดับที่ 1 อีซูซุ          10,055 คัน     ลดลง   22.0%  ส่วนแบ่งตลาด 44.8%
  • อันดับที่ 2 โตโยต้า     8,637 คัน     ลดลง   27.2%  ส่วนแบ่งตลาด 38.5%
  • อันดับที่ 3 ฟอร์ด         2,286 คัน    เพิ่มขึ้น  24.8% ส่วนแบ่งตลาด  10.2%   

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566

ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 341,691 คัน ลดลง 4.9%    

  • อันดับที่ 1 โตโยต้า     115,982 คัน   ลดลง     4.2% ส่วนแบ่งตลาด 33.9%
  • อันดับที่ 2 อีซูซุ            73,776 คัน   ลดลง   17.8% ส่วนแบ่งตลาด 21.6%
  • อันดับที่ 3 ฮอนด้า       39,067 คัน  เพิ่มขึ้น   9.2% ส่วนแบ่งตลาด 11.4%

ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย  123,754 คัน เพิ่มขึ้น 6.4%        

  • อันดับที่ 1 โตโยต้า      43,630 คัน   เพิ่มขึ้น  32.2%  ส่วนแบ่งตลาด 35.3%
  • อันดับที่ 2 ฮอนด้า       25,984 คัน    ลดลง   4.0%   ส่วนแบ่งตลาด 21.0%
  • อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ        8,227 คัน    ลดลง     9.7%  ส่วนแบ่งตลาด  6.6%

ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 217,937  คัน ลดลง 10.3%  

  • อันดับที่ 1 อีซูซุ           73,776 คัน    ลดลง   17.8%  ส่วนแบ่งตลาด   33.9%
  • อันดับที่ 2 โตโยต้า    72,352 คัน    ลดลง   17.8%  ส่วนแบ่งตลาด   33.2%
  • อันดับที่ 3 ฟอร์ด       16,902 คัน   เพิ่มขึ้น  39.2%  ส่วนแบ่งตลาด  7.8%

ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)

ปริมาณการขาย 155,613 คัน ลดลง 18.2%

  • อันดับที่ 1 อีซูซุ            67,533 คัน    ลดลง   18.4%  ส่วนแบ่งตลาด   43.4%
  • อันดับที่ 2 โตโยต้า       59,741 คัน    ลดลง   22.0% ส่วนแบ่งตลาด   38.4%
  • อันดับที่ 3 ฟอร์ด          16,902 คัน   เพิ่มขึ้น  39.2%  ส่วนแบ่งตลาด   10.9%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 28,067 คัน

โตโยต้า 10,201 คัน – อีซูซุ 9,946 คัน – ฟอร์ด 5,106 คัน – มิตซูบิชิ 2,290 คัน – นิสสัน 524 คัน

ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย  127,546 คัน ลดลง 22.6%

  • อันดับที่ 1 อีซูซุ          57,587 คัน     ลดลง 23.5%   ส่วนแบ่งตลาด 45.1%
  • อันดับที่ 2 โตโยต้า   49,540 คัน     ลดลง  23.3%   ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
  • อันดับที่ 3 ฟอร์ด       11,796 คัน     เพิ่มขึ้น  14.6%  ส่วนแบ่งตลาด  9.2%   

ติดตามข้อมูลผลิตภัณฑ์และกิจกรรมการตลาดเพิ่มเติมได้ที่

Check Also

Mazda presents awards to winner of Mazda U.S. College Golf Championships 2024

มาสด้ามอบรางวัลให้กับเยาวชนผู้ชนะเลิศโครงการ Mazda U.S. College PREP Junior Golf Championships

คณะผู้บริหาร มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย นำโดย นายธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ รองประธานกรรมการบริหาร มอบรางวัลตั๋วเครื่องบินเดินทางไปกลับ กรุงเทพฯ-สหรัฐอเมริกา และอุปกรณ์กอล์ฟจากมาสด้า ให้กับเยาวชนที่ชนะเลิศโครงการ “Mazda U.S. College …