มิตซูบิชิ แลนเซอร์ WRC 05 เข้าร่วมการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกปี2548 มีการปรับปรุงเพื่อเพิ่มสมรรถนะการขับขี่ภายใต้กฎข้อบังคับใหม่ของการแข่งขัน
มิตซูบิชิ แลนเซอร์ WRC 05 กับการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกในปี 2548
Mitsubishi Lancer WRC 05
ในปี 2548 มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ได้เข้าร่วมการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลก (WRC) ด้วยรถยนต์ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ รุ่น ดับบลิวอาร์ซี 05 ซึ่งได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มสมรรถนะการขับขี่ภายใต้กฎข้อบังคับใหม่ของการแข่งขันฯ ในปีนั้น โดยเริ่มจากการขยายความกว้างของตัวรถเพิ่มขึ้นอีก 30 มม. จากเดิม 1,770 มม. เพิ่มเป็น 1,800 มม. เมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้ พร้อมด้วยการปรับดีไซน์ใหม่ ให้แก่
มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ดับบลิวอาร์ซี 05 อาทิ ซุ้มล้อหน้า-หลัง ส่วนท้ายด้านข้าง แผงกันชน และอื่นๆ โดย มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ดับบลิวอาร์ซี 05 ยังได้รับการปรับแต่งชุดระบบช่วงล่าง ชุดระบบกันสะเทือน และชุดเพลาขับรุ่นใหม่
เพื่อสร้างความสมดุลให้กับตัวถังรถที่มีขนาดความกว้างเพิ่มมากขึ้น โดยรถแข่งรุ่นดังกล่าวฯ ได้ถูกเผยโฉมและทดสอบไปก่อนหน้านี้จากการแข่งขันบนถนนลาดยางในรายการ คาตาลุญญา แรลลี่ ประเทศสเปน เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2547 ที่ผ่านมา
โดย มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ยังคงเลือกใช้เครื่องยนต์รุ่นเดิม รหัส 4G63 ที่ใช้มาตั้งแต่ต้นฤดูกาลการแข่งขันฯ ในรายการ มอนติคาร์โล แรลลี่ ในเดือนมกราคมของปีเดียวกัน โดยได้ติดตั้งชุดอุปกรณ์ระบบขจัดไอเสียและวาล์วควบคุมระบบแรงอัดอากาศแบบใหม่ พร้อมปรับปรุงสมรรถนะเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
โดยผลจากการปรับปรุงและติดตั้งระบบต่างๆ เพิ่มเติม ทำให้สามารถยกระดับสมรรถนะและประสิทธิภาพของ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ดับบลิวอาร์ซี 05 ให้ดีเพิ่มมากยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ยังได้ติดตั้งระบบเกียร์กึ่งอัตโนมัติที่เพิ่งถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาใหม่เป็นครั้งแรกในรถแข่งคันดังกล่าวฯ อีกด้วย
โดยวิธีการทำงานของระบบเกียร์รุ่นใหม่นี้ จะอนุญาตให้นักแข่งสามารถปรับเปลี่ยนเกียร์ให้สูงขึ้น หรือ ต่ำลง ด้วยปลายนิ้วผ่านระบบแพดเดิ้ลชิฟที่ติดตั้งอยู่ที่บริเวณพวงมาลัย โดยไม่ต้องอาศัยระบบคลัตช์เข้าช่วยในการเปลี่ยนเกียร์ โดยรายชื่อทีมนักแข่งในปีนี้ ประกอบด้วย มร. แฮรี่ โรแวนพีรา (ฟินแลนด์), มร. กิเรส ปานิชซี และ มร. จิอันลุยจิ กัลลี (อิตาลี)
มร. ปานิชซี เริ่มต้นฤดูกาลการแข่งขันฯ ที่ยอดเยี่ยมด้วยการคว้าอันดับที่สามจากการแข่งขันรายการ มอนติคาร์โล แรลลี่ และถือเป็นการคว้าตำแหน่งบนโพเดี้ยมครั้งแรกของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส นับตั้งแต่ครั้งสุดท้ายที่สามารถทำได้เมื่อสามปีก่อนในรายการ ซาฟารี แรลลี่ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2544 ส่วนนักแข่งชั้นนำอย่าง มร. โรแวนพีรา ก็สามารถเก็บคะแนนและขับเข้าเส้นชัยได้อย่างต่อเนื่อง
โดยสามารถทำคะแนนสะสมต่อเนื่องได้จาก 9 สนาม ในการลงแข่งขันทั้งหมด 16 สนาม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าของนักแข่งผู้นี้ และในเดือนตุลาคม มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ได้เข้าร่วมการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกที่ถูกจัดขึ้นบนแผ่นดินบ้านเกิดของตนเองเป็นครั้งแรกในสนามที่ 13 เจแปน แรลลี่ และได้ส่งนักแข่งทั้งหมดให้เข้าร่วมการแข่งขันฯ ในสนามนี้
โดย มร. โรแวนพีรา สามารถคว้าอันดับที่ห้า พร้อมสร้างความประทับใจให้แก่เหล่าบรรดาแฟนคลับชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก และในสนามสุดท้ายรายการที่ 16 รอบชิงชนะเลิศที่ ออสเตรเลีย แรลลี่ มร. โรแวนพีรา สามารถคว้าอันดับที่ 2 มาครอง และถือเป็นการคว้าอันดับที่ดีที่สุดสำหรับ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ในฤดูกาลดังกล่าว
ส่วน มร. กัลลี ก็สามารถจบการแข่งขันฯ ในอันดับที่ 5 ในประเภทรวมโอเวอร์ออล ซึ่งถือเป็นสถิติส่วนบุคคลที่ดีที่สุดของเขาจนถึงปัจจุบัน จากผลการแข่งขันดังกล่าวได้พิสูจน์ให้เห็นถึงสมรรถนะ ความแข็งแกร่ง และเทคโนโลยีอันยอดเยี่ยมของ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ดับบลิวอาร์ซี 05
และในเดือนธันวาคม ของปีเดียวกันนี้เอง มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ได้ประกาศว่าทางบริษัทฯ มีความจำเป็นที่ต้องจัดสรรและให้ความสำคัญในด้านการจัดการทรัพยากร จึงได้ประกาศระงับการเข้าร่วมการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกในปี 2549 เพื่อมุ่งเน้นการแข่งขันในรายการ ดาการ์ แรลลี่ เป็นหลัก ซึ่งขณะนั้น มิตซูบิชิ มอเตอร์ส สามารถคว้าชัยชนะมาได้ถึง 5 สนาม
และด้วยปรัชญาแห่งการแข่งขันที่กล่าวว่า “ความมุ่งมั่นเพื่อต่อสู้ในการแข่งขันแรลลี่จะช่วยพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในด้านการผลิตยานยนต์ให้แก่ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส” โดยผลจากการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวฯ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆ ของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส
อาทิ เทคโนโลยีระบบควบคุมการขับเคลื่อนแบบสี่ล้อ รวมทั้งนวัตกรรมด้านเทคโนโลยียานยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยนวัตกรรมเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ถูกคิดค้นและส่งผ่านจากอดีตสู่ปัจจุบัน จากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อกันมายังรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ในปัจจุบันอย่าง รถอเนกประสงค์ เป็นต้น
ประวัติความสำเร็จ
- 2510-2520 มิตซูบิชิ โคลท์ 1000F / มิตซูบิชิ โคลท์ 1100F / มิตซูบิชิ กาแลนท์ 16L GS / มิตซูบิชิ แลนเซอร์ 1600 GSR
- 2524-2530 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ EX2000 TURBO / มิตซูบิชิ สตาร์เลี่ยน 4WD / มิตซูบิชิ สตาร์เลี่ยน TURBO
- 2531-2535 มิตซูบิชิ กาแลนท์ VR-4
- 2536 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น
- 2537 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่นⅡ
- 2538 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น Ⅲ
- 2539 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น Ⅲ
- 2540 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น Ⅳ
- 2541 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น Ⅳ / มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น Ⅴ
- 2542 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น Ⅵ
- 2543 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น Ⅵ (ทอมมี่ มาคิเนน เอดิชั่น)
- 2544 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น Ⅵ (ทอมมี่ มาคิเนน เอดิชั่น) / มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น WRC
- 2545 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น WRC02
- 2546 ยกเลิกการแข่งขัน
- 2547 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น WRC04
- 2548 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น WRC05
ข้อมูลเพิ่มเติม:
https://www.mitsubishi-motors.com/en/innovation/motorsports/wrc/
ติดตามข้อมูลข่าวสาร มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ได้ที่
- Website : www.mitsubishi-motors.co.th
- Facebook : www.facebook.com/MitsubishiMotorsTH
- Instagram : @MitsubishiMotorsTh
- Youtube Channel : MitsubishiMotorsTh
- Line Official Account/ ID : MitsubishiMotorsTh
- มิตซูบิชิ คอลเซ็นเตอร์ หมายเลขโทรศัพท์ 02-079-9500 เปิดให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง