รีวิว ทดสอบ All New Mazda BT-50 ปี 2021 แนวคิดการออกแบบ โคโดะ ดีไซน์ ผสานกับความทรงพลังและความแข็งแกร่งสไตล์ปิกอัพที่โดดเด่นและสง่างาม
รีวิว ทดสอบ All New Mazda BT-50 ปี 2021 โฉมล่าสุด (เจเนอเรชั่นที่ 4 ในไทย)
All New Mazda BT-50 ปี 2021
Mazda BT-50 เปิดตัวครั้งแรกในญี่ปุ่นเดือนสิงหาคม 1961 ในรุ่นมาสด้า B1500 บี-ซีรี่ย์ โดยในโฉมล่าสุด นับเป็นเจเนอเรชั่นที่ 4 ที่จำหน่ายในไทย ซึ่งในการออกแบบ All New BT-50 ยังคงใช้แนวคิดการออกแบบของ โคโดะ ดีไซน์ ซึ่งถูกนำมาใช้ในรถมาสด้าทุกรุ่น ซึ่งเป็นการผสมผสานกับความทรงพลังและความแข็งแกร่งสไตล์ปิกอัพที่โดดเด่นและสง่างาม
ภายนอกโดดเด่นด้วยซิกเนเจอร์วิงส์และไฟหน้าที่มีรูปทรงกระบอกแบบ LED ส่วนของไฟท้ายก็เป็น LED โดยตัวรถสามารถขับลุยน้ำได้สูงถึงระดับ 80 ซม. ซึ่งใน All New BT-50 ใหม่ใช้แพลตฟอร์มเดียวกันกับอีซูซุ ซึ่งจะแตกต่างกันในเรื่องของน้ำหนัก ระบบพวงมาลัยใช้เป็นระบบไฮโดรลิกอยู่เช่นเคย
ภายในเน้นความเรียบง่าย แต่หรูหรา ซึ่งแทบไม่ต่างจากในอีซูซุ แต่วัสดุจะมีความพิถีพิถันมากกว่า มาตราวัดแบบอนาล็อก 2ชุด โดยมีหน้าจอแสดงข้อมูลการขับขี่ ขนาด 4.2 นิ้ว พร้อมหน้าจอแสดงผลความละเอียดสูง WXGA ขนาด 7 นิ้ว หรือ 9 นิ้วตามออปชั่น ซึ่งรองรับระบบ Apple CarPlay และ Android Auto พวงมาลัยสามารถปรับได้ 4 ทิศทาง เบาะคนขับสามารถปรับได้ 8 ทิศทาง รวมถึงมีมือจับให้ผู้โดยสารแถวหลังให้ขึ้นลงรถได้สะดวกยิ่งขึ้น
ในการเก็บเสียงมีการเสริมขอบยางสองชั้น และมีการเพิ่มฉนวนใต้พรมให้มีความหนาขึ้นเพื่อกันเสียงดังจากใต้ท้องรถเข้ามารบกวนให้น้อยลง ส่งผลให้ห้องโดยสารเงียบยิ่งขึ้น
เครื่องยนต์
|
เครื่องยนต์ดีเซล 3.0 ลิตร |
เครื่องยนต์ดีเซล 1.9 ลิตร |
ปริมาตรกระบอกสูบ ซีซี |
2,999 |
1,898 |
ความกว้างกระบอกสูบ x ระยะชัก มม. |
95.4 x 104.9 |
80.0 x 94.4 |
อัตราส่วนกำลังอัด |
16.3 : 1 |
16.5 : 1 |
แรงม้าสูงสุด PS (กิโลวัตต์) / รอบต่อนาที |
190 (140) / 3,600 |
150 (110) / 3,600 |
แรงบิดสูงสุด นิวตัน-เมตร / รอบต่อนาที |
450 / 1,600-2,600 |
350 / 1,800-2,600 |
อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ย กม./ลิตร |
14.1 |
16.1 |
อ้างอิงจากรุ่นเกียร์อัตโนมัติ
ขุมพลังมีให้เลือกสองรูปแบบ โดยเป็นเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 3.0 ลิตรเทอร์โบคอมมอนเรลพร้อมหัวฉีดแรงดันสูงถึง 250 เมกะปาสคาล พร้อมเทอร์โบแปรผัน มีการเคลือบฉนวนที่ลูกสูบและเกียร์ Double-scissors ที่ช่วยลดเสียงรบกวน ให้พละกำลังสูงสุด 190 แรงม้า ที่ 3,600 รอบต่อนาที แรงบิดอยู่ที่ 450 นิวตันเมตร 1,600-2,000 รอบต่อนาที อัตราสิ้นเปลืองอยู่ที่ 14.1 กิโลเมตรต่อลิตร
และเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1.9 ลิตรเทอร์โบ เพิ่มระบบหล่อเย็น EGR ถูกติดตั้งมาในฝาสูบพร้อม Water Jacket ช่องทางระบายความร้อนด้วยน้ำภายในเสื้อสูบและฝาสูบในท่อทางเดิน EGR ให้พละกำลัง 150 แรงม้าที่ 3,600 นาที แรงบิดสูงสุด 350 นิวตันเมตร 1,800-2,600 นาที อัตราสิ้นเปลืองอยู่ที่ 16.1 กิโลเมตรต่อลิตร
โดยทั้งสองเครื่องจะมีเกียร์ให้เลือกอัตโนมัติ 6 สปีด และเกียร์ธรรมดา 6 สปีด โดยเพิ่มความแข็งแรงของคันเกียร์เพื่อให้เปลี่ยนเกียร์ราบรื่น และกระชับมากขึ้น ระบบเกียร์อัตโนมัติมีขนาดกะทัดรัด มีชุดตัดต่อที่มีน้ำหนักเบาขึ้น ในรุ่น 4×4 ใช้เพลาขับที่ทำจากอลูมิเนียมทำให้มีน้ำหนักเบามากขึ้น ในรุ่น 4×4 ยังมาพร้อมกับล็อกเฟืองท้ายแบบไฟฟ้า
ระบบกันสะเทือนช่วงล่างในด้านหน้าเป็นแบบอิสระปีกนกคู่ หลังชุดแหนบคานแข็ง ดิสก์เบรกมีการขยายให้ใหญ่ขึ้นจากรุ่นก่อน 1นิ้วเป็น 17 นิ้ว ข้างหลังเป็นระบบดรัมเบรก
เทคโนโลยีความปลอดภัยเชิงป้องกันในรถปิกอัพ มาสด้า BT-50 ใหม่
ระบบความปลอดภัย |
ประเทศไทย |
ระบบเตือนเมื่อมีรถในจุดอับสายตาขณะเปลี่ยนเลน ABSM |
O |
ระบบเตือนเมื่อมีรถในจุดอับสายตาขณะถอยหลัง RCTA |
O |
ระบบช่วยจอด Parking Aid |
O |
ระบบช่วยควบคุมความเร็วขณะลงทางลาดชัน HDC |
O |
ระบบช่วยออกตัวรถขณะอยู่บนทางลาดชัน หรือ HLA |
O |
* ออปชั่นเทคโนโลยีความปลอดภัย อาจมีการเปลี่ยนแปลง
ระบบเตือนเมื่อมีรถในจุดอับสายตาขณะเปลี่ยนเลน ABSM เป็นระบบเซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับเมื่อมีรถเคลื่อนที่เข้ามาทางด้านหลังเมื่อเปลี่ยนเลน โดยระบบจะส่งสัญญาณเตือนบนกระจกเพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัย ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์ตัวเดียวกันที่ใช้กับระบบเตือนเมื่อมีรถในจุดอับสายตาขณะถอยหลัง (RCTA) ที่ช่วยส่งสัญญาณเตือนคนขับเมื่อตรวจพบว่ามีรถยนต์กำลังเคลื่อนที่เข้ามาจากทางด้านหลัง
ระบบควบคุมความเร็วขณะลงทางลาดชัน Hill Descent Control (HDC) ระบบควบคุมเครื่องยนต์และเบรกเพื่อควบคุมอัตราเร่งและรักษาความเร็วเมื่อขับรถลงทางลาดชัน ช่วยให้ผู้ขับขี่มีสมาธิในการควบคุมพวงมาลัย และมั่นใจยิ่งขึ้นเมื่อขับรถลงจากทางลาดชัน
ระบบช่วยออกตัวรถขณะอยู่บนทางลาดชัน (HLA) เมื่อคนขับยกเท้าออกจากแป้นเบรกเพื่อเร่งเครื่องยนต์จากจุดออกตัวบนทางลาดชัด ระบบเบรกจะยังคงทำงานเพื่อป้องกันไม่ให้รถไหลไปข้างหลัง เพื่อช่วยให้การขับขี่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ระบบช่วยจอด Parking Aid เซ็นเซอร์ 4 ตัวบนกันชนด้านหน้าและด้านหลังจะช่วยกะระยะห่างระหว่างรถกับวัตถุ โดยระบบจะส่งเสียงแจ้งเตือนผู้ขับขี่เมื่อรถเคลื่อนเข้าไปใกล้วัตถุจนถึงระยะห่างที่กำหนด
ระบบถุงลมนิรภัย SRS นอกจากถุงลมนิรภัยฝั่งคนขับและฝั่งผู้โดยสารที่เป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยขั้นพื้นฐานแล้ว รถปิกอัพมาสด้า BT-50 ใหม่ ยังมาพร้อมม่านถุงลมนิรภัยและถุงลมนิรภัยด้านข้าง ที่ช่วยลดอันตรายที่อาจจะเกิดกับศีรษะและหน้าอกของผู้ขับและผู้โดยสาร ซึ่งรถรุ่นนี้มาพร้อมกับถุงลมนิรภัยรวมสูงสุด 6 ตำแหน่ง
สรุป All New Mazda BT-50 แตกต่างจากทางพี่น้องฝาแฝดต่างค่าย มีแค่เครื่องยนต์ ช่วงล่าง แคสซีส์ เครื่องยนต์ภายในและกระจกหน้าที่ใช้ร่วมกัน แต่พาร์ทภายนอกไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ ซึ่งข้อดีของ All New Mazda BT-50 คือในอนาคตคุณสามารถใช้อะไหล่ทดแทนจากเพื่อนร่วมค่ายอื่นได้ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีอะไหล่ ด้วยความที่อะไหล่ช่วงล่างและเครื่องยนต์ได้รับความนิยมมาก ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องการความแตกต่างที่หรูหราและมีระดับ แต่ไม่ต้องวิตกเรื่องเซอร์วิส